ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต
dc.contributor.author | เอกชัย ทาปั๋น | |
dc.date.accessioned | 2024-07-02T07:12:14Z | |
dc.date.available | 2024-07-02T07:12:14Z | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description | The purposes of this research were to study 1) the school administrators' transformational leadership 2) personnel management in schools 3) the relationship between school administrators' transformational leadership and personnel management in schools under Phuket Primary Educational Service Area Office. The sample were 265 schoolteachers under Phuket Primary Educational Service Area Office. The research instrument was a 5-rating scale questionnaire with the validity 0.67 – 1.00 and the reliability 0.92. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The findings were as follow 1) the school administrators' transformational leadership was overall rated at high level in orderly by highest to lowest mean were inspiration motivation, individualized consideration, intellectual stimulation, and idealized influence, 2) personnel management in schools in overall and each aspect were at high level in orderly by highest to lowest mean were recruitment and appointment, personnel development, performance appraisal, and manpower planning, 3) the relationship between school administrators' transformational leadership and human resources management in schools was overall positively correlated at fairly high level with a statistical significance at 0.01 level (r = 0.804). | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ตามลำดับ 2) การบริหารงานบุคคล ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร และด้านการวางแผนอัตรากำลัง ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.804) | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/623 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง | |
dc.subject | ผู้บริหารสถานศึกษา | |
dc.subject | การบริหารงานบุคคล | |
dc.subject | Transformational leadership | |
dc.subject | School administrators | |
dc.subject | Human resources management | |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต | |
dc.title.alternative | Relationship Between School Administrators' Transformational Leadership and Personnel Management in Schools Under Phuket Primary Educational Service Area Office | |
dc.type | Thesis |