รูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ
dc.date.accessioned2024-07-10T07:02:01Z
dc.date.available2024-07-10T07:02:01Z
dc.date.issued2023
dc.descriptionThe purposes of the model of academic administration of early childhood education under Bangkok Metropolitan Administration were to 1) compare academic administration at the early childhood level in Japan and of that in Thailand, 2) study of the factors affecting success in academic administration at the early childhood level of elementary school under Bangkok Metropolitan Administration and model fit, and 3) assess the suitability of the model of academic administration of early childhood education under Bangkok Metropolitan Administration. The research methodologies used both qualitative and quantitative methods. The sample consisted of 150 elementary schools under Bangkok Metropolitan Administration. The research tools were a Summated Rating Scales questionnaire with Cronbach's Alpha coefficient ranging from 0.95 to 0.98. Data were analyzed by descriptive statistics and inferential statistics: Multiple Linear Regression Analysis and Influence Path Analysis. The findings were found that 1) Both Japanese, and Thai academic administration at the early childhood level most had the same issues, but there were different issues as follows: 1.1) Management of the early childhood curriculum: managed by only school staff and had a monthly meeting and per semester, but In Japan, parent groups always participated in the preparation of early childhood academic programs. And there was a meeting to summarize early childhood academic performance evaluation every day, every month, and every semester, and 1.2) Development of media, innovation and educational technology: not focusing on the issue of promoting and providing computers for early childhood children. 2) Factors affecting success in academic administration at the early childhood level of the schools under Bangkok Metropolitan consisted of nine factors. 3) The model of academic administration of early childhood education under Bangkok Metropolitan administration was found that the model fit. The factors with the highest weight on effect were the parents and the community, and the second was the teachers. Finally, and 4) The model of academic administration of early childhood education under Bangkok Metropolitan administration with PIE Model evaluated by the experts found that the model was appropriate, and possible at the highest level. In addition, the evaluation of the model by qualified people found that the model was appropriate and useful at the highest level.
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของญี่ปุ่น และของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และตรวจสอบรูปแบบเชิงทฤษฎีการบริหารงานวิชาการปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) สร้างรูปแบบและประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนที่เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดมาตรวัดประเมินรวมค่า (Summated Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช (Cronbach’s Alpha) อยู่ระหว่าง 0.95-0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และของญี่ปุ่น ทั้ง 5 ด้าน ส่วนใหญ่มีประเด็นที่เหมือนกัน แต่มีประเด็นที่แตกต่าง ได้แก่ 1.1) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรปฐมวัย ในการจัดทำแผนงานวิชาการปฐมวัย สถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดยสถานศึกษา แต่ญี่ปุ่นบริหารจัดการโดย กลุ่มผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานวิชาการปฐมวัยด้วย และวิธีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานวิชาการปฐมวัย ของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครมีการประชุมสรุปผลงานรายเดือน และรายภาคการศึกษา ส่วนของญี่ปุ่นมีการประชุมสรุปผลงานรายวัน รายเดือนและรายภาคการศึกษา 1.2) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา สถานศึกษาระดับปฐมวัยของญี่ปุ่นไม่เน้นในประเด็นการส่งเสริมและจัดให้มีคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย 2) ผลวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีปัจจัย 9 ด้าน ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย 3) ผลการตรวจสอบรูปแบบเชิงทฤษฎี โดยการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล พบว่า โมเดลปัจจัยเชิงทฤษฎีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ปัจจัยที่มีค่าน้ำหนักในการส่งผลสูงสุด คือ ด้านผู้ปกครองและชุมชน รองลงมา คือ ด้านครูผู้สอน และ 4) ผลประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย PIE Model โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบมีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ. (2566). รูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).tha
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/646
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectการบริหารงานวิชาการปฐมวัย
dc.subjectปฐมวัย
dc.subjectโรงเรียนระดับปฐมวัยสังกัดกรุงเทพมหานคร
dc.subjectAcademic Administration of Early Childhood Education
dc.subjectEarly Childhood Education
dc.subjectElementary School Under Bangkok Metropolitan Administration
dc.titleรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeThe Model of Academic Administration of Early Childhood Education Under Bangkok Metropolitan Administration
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Chadaporn Chanprasert.pdf
Size:
3.18 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: