สัณฐานวิทยาและมอร์โฟเมตริกของส่วนหัว หนวด และกราม ในชันโรงไทย

Abstract
ชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรที่มีความสำคัญ พบการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในประเทศไทย ชันโรงสกุล Homotrigona, Tetrigona และ Lepidotrigona เป็นชันโรงที่มีนิสัยสร้างรังในโพรงต้นไม้ที่มีชีวิต และมีปากทางเข้ารังมีลักษณะเป็นปากแตรเพียง 1 ช่องทาง การศึกษาครั้งนี้ ทำการตรวจความผันแปรบนโครงสร้างหัวของตัวอย่างชันโรง 3 สกุล (n=50 รัง) ได้แก่ Homotrigona (n=14) Tetrigona (n=31) และ Lepidotrigona (n=5) โดยการวิเคราะห์มอร์โฟเมตริกแบบมาตรฐาน (31 ลักษณะ) โดยทำการวัดโครงสร้างหัว (12) ค่าสัดส่วนของหัว (5) ความยาวหนวด (13) และกราม (1) ผลการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีจำแนกกลุ่ม แสดงผลการจำแนกกลุ่มชันโรงทั้ง 3 สกุล ออกจากกันอย่างชัดเจน รวมทั้งสามารถจำแนกในระดับชนิดได้ดีด้วยการใช้ลักษณะทั้งหมด หรือการวัดโครงสร้างหัวและค่าสัดส่วนของหัว แต่การใช้ค่าการวัดจากส่วนหัวเพียงอย่างเดียวแสดงให้เห็นถึงการกระจายปะปนกันของชันโรงระหว่างสกุล Tetrigona และ Lepidotrigona และในการจำแนกชนิดทั้ง 3 สกุล ผลของมอร์โฟเมตริกแสดงการระบุชนิดในสกุล Homotrigona ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ H. aliceae และ H. fimbriata สกุล Tetrigona ระบุได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ T. apicalis และ T. melanolueca ส่วนสกุล Lepidotrigona ระบุได้ 1 กลุ่ม คือ L. terminata นอกจากนี้ การตรวจสอบระบุกลุ่มชนิดของชันโรง จำเป็นต้องตรวจสอบลักษณะสัณฐานวิทยาบนหัว เช่น สีแผ่นปิดเหนือส่วนปาก สีหนวดปล้องสเคป และสีของกราม นอกจากนี้ผลทางกายวิภาควิทยาส่วนหัว มีส่วนสนับสนุนในการจัดจำแนกสกุลและชนิดของชันโรงได้ดียิ่งขึ้นและยังคงเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีความรวดเร็วในการศึกษา
Description
Stingless bees are important insect pollinators and widely distribution throughout Thailand. The study was investigated three stingless bees’ genera (n=50 colonies) such as Homotrigona (n=14), Tetrigona (n=31) and Lepidotrigona (n=5). Those nests are in cavity of living tree and their nests entrance as same as cuspidor funnel. The head variation of stingless bees was generated by standard morphometric method for 31 characters such as head distances (12 characters), head ratios (5 characters), antenna distances (13 characters) and one mandible distance (1 characters). The statistical tests with discriminant analysis were clearly classified into genera and species level by using all of morphometric characters or distance plus ratio of head characters. But only distance of head showed overlapping between Tetrigona and Lepidotrigona. The results of those morphometric indicated two species of Homotrigona (H. aliceae and H. fimbriata), two species of Tetrigona (T. apicalis and T. melanolueca) and one of Lepidotrigona terminata. In addition, the species identification of stingless bees suggests the anatomical of head detail such as coloration of clypeus, scape of antenna and morphological mandible. These results demonstrate that head structure may be effective on species identification of stingless bees as same as wing structure. However, head morphometric analysis may be suggesting for stingless bees’ identification, cause of inexpensive and rapid methods.
Keywords
หนวด, หัว, กราม, มอร์โฟเมตริก, ชันโรง, Antenna, Head, Mandible, Morphometric, Stingless bees
Citation
สิริพร พิมมะสอน, สุพิชชา เสาร์แก้ว และสุภัค เศรษฐกุดั่น. (2560). สัณฐานวิทยาและมอร์โฟเมตริกของส่วนหัว หนวด และกราม ในชันโรงไทย. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.