พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน
Loading...
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่ศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จำนวน 345 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างอาศัยความเชื่อมั่น 95% โดยใช้สูตร Taro Yamane (1973) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 18.55 ผู้สูบบุหรี่ เป็นเพศชาย จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 16.62 เพศหญิง จำนวน 15 คน ร้อยละ 4.34 ประเภทของบุหรี่ที่นิยมสูบมากที่สุด คือ บุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 76.56 ยี่ห้อบุหรี่ KNIGHT (Blue) ร้อยละ 45.31 ลักษณะการสูบ คือ สูบทุกวัน ร้อยละ 76.56 เพื่อคลายเครียด ร้อยละ 84.38 โอกาสในการสูบบุหรี่มากที่สุด คือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 20.34 แหล่งที่มาของบุหรี่ พบว่า หาซื้อได้จากร้านขายของชำ ร้อยละ 65.63 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการสูบ/ไม่สูบบุหรี่ พบว่า ด้านปัจจัยนำ ได้แก่ เพศสภาพ สาขาที่เรียน รายได้ผู้ปกครอง ลักษณะการพักอาศัย ความรู้และทัศนคติ ด้านปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โฆษณา การเที่ยวสถานบันเทิง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความสามารถในการเข้าถึงบุหรี่ และด้านปัจจัยเสริม ได้แก่ อิทธิพลของเพื่อน บุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ และครูอาจารย์สูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบ/ไม่สูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ข้อค้นพบจากผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในนักศึกษายังมีทั้งเพศชายและหญิง และบุหรี่ที่สูบส่วนใหญ่เป็นบุหรี่ไฟฟ้า โดยสามารถเข้าถึงได้หลายปัจจัยทั้งปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม สถานศึกษาจึงควรแสวงหาช่องทางรณรงค์แบบเจาะจงให้มากขึ้น โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ไฟฟ้า
Description
This research aimed to study the smoking behavior of students in the medical faculty university upper northern, Thailand. Using the survey research. The samples were obtained from stratified sampling random 345 people of studying at the Faculty of Medicine. The data was conducted by interviews and analyzed by using mean percentage and Binary Logistic Regression. The results showed that the samples were smoking 64 people 18.55%. Smoker were male 47 people 16.62%, females 15 people 4.34%. The most type of cigarette that the students were smoking by e-cigarette 76.56%, brand was KNIGHT (Blue), 45.31%. The habited smoking was smoke everyday 76.56% for relieve stress 84.38%. The most opportunity smoke was drinking alcohol 20.34%. The source to buy cigarette from general store 65.63% The relationship of predisposing factors enabling factors and reinforcing factors smoking /nonsmoking found that predisposing factors such as gender, field of study, parents' income, the nature of the residence Knowledge and attitudes. The enabling factors is the to receive advertising information. Going to the entertainment place, drinking alcohol and access to cigarette. And reinforcing factors are their friend influence, or some people in their family smoke, or the teacher to smoke related to smoking initiation at the 0.05 The findings from the research revealed that Smoking behaviors among college students were both male and female. And most of the cigarettes smoked are e-cigarettes. which can reach many factors, including leading factors contributing factors and enhancing factors Therefore, educational institutions should seek more specific campaign channels. especially smoking e-cigarettes.
Keywords
พฤติกรรม, การสูบบุหรี่, นักศึกษา, Behavior, Smoking, College students