ปัจจัยทำนายความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลพะเยา
dc.contributor.author | ปาริชาติ บุญมี | |
dc.date.accessioned | 2024-02-08T03:09:37Z | |
dc.date.available | 2024-02-08T03:09:37Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.description | The retrospective cohort study was performed, aimed to determine the factors related to respiratory machine weaning. Two hundred patients with respiratory machine in semi crisis ward in Phayao hospital were observed during 1st October 2016 to 31st December 2017. Data was collected by medical record, weaning protocol, and recording variables of interest. Statistics employed in this study were descriptive statistics, Log-Rank test and Cox proportional hazard regression. The results revealed that the factors statistically related to weaning were receiving antibiotics (HR 1.44; 95%CI 1.00-2.07) and nosocomial infection (HR 4.32; 95% CI 1.74-10.74). The patients, who received antibiotics, had chance of weaning 1.44 times more than patients who did not received antibiotics (p < 0.05) and those who did not get nosocomial infection had chance of weaning 4.32 times higher than those who got nosocomial infection (p < 0.05). This study implied the importance of prevention of nosocomial infection among the patients with respiratory machine and intensive care of the patients who received antibiotics for less time respiratory machine weaning. | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง (Retrospective cohort study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยทำการศึกษาในผู้ป่วย จำนวน 200 ราย ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลการรักษาของผู้ป่วย (เวชระเบียน) 2) แบบบันทึกเกี่ยวกับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning Protocol) และ 3) แบบบันทึกข้อมูลตัวแปรที่ต้องการศึกษาสถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ สถิติพรรณนา Log-Rank test และ Cox proportional – hazards regression ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การได้รับยาปฏิชีวนะ (HR 1.44 ; 95% CI 1.00–2.07) และการติดเชื้อในโรงพยาบาล (HR 4.32 ; 95% CI 1.74-10.74) ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมีโอกาสหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ 1.44 เท่ามากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ (p < 0.05) และผู้ป่วยที่ไม่มีการติดเชื้อในโรงพยาบาลมีโอกาสหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ 4.32 เท่า มากกว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในโรงพยาบาล (p < 0.05) การศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลในผู้ป่วยใส่คาท่อช่วยหายใจ และการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะอย่างเข้มข้น เพื่อลดระยะเวลาการหย่าเครื่องช่วยหายใจ | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/268 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | ปัจจัย | |
dc.subject | การหย่าเครื่องช่วยหายใจ | |
dc.subject | หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม | |
dc.subject | Factors | |
dc.subject | Weaning Mechanical Ventilator | |
dc.subject | Semi-Crisis ward | |
dc.title | ปัจจัยทำนายความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลพะเยา | |
dc.title.alternative | Factors Predicting to Successful Weaning from Mechanical Ventilation in Semi-Crisis Ward of Phayao Hospital | |
dc.type | Thesis |