ผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (Glomus sp., Acaulospora sp.) ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ปริมาณสารสำคัญของผักเชียงดา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผักเชียงดาจากใบอ่อน
dc.contributor.author | นันทิญาพรรณ ทิพย์จักร์ | |
dc.contributor.author | พลอยชมพู ดงปาลี | |
dc.date.accessioned | 2024-12-02T08:51:50Z | |
dc.date.available | 2024-12-02T08:51:50Z | |
dc.date.issued | 2020 | |
dc.description | Gymnema inodorum (Gymnema inodorum (Lour.) Decne.) is vegetable generally found in the north of Thailand which is reported to bioactive compound properties such as antioxidant and diabetes alleviation. The purposes of this study were to study Arbuscular mycorrhiza fungi which affect Gymnema inodorum growth, substance quantity of Gymnema inodorum, and to study Gymnema inodorum young leaves culturing. The experiment proceeded by randomized complete block design (RCBD) which had divided into 2 groups: control group and experimental group. The methods were height measure, leaves count, width leaves measure, and length leaves measure. There were collected every month from August 2019 to January 2020 after that measured dry weight and wet weight of leaves, analyzed Phenolic quantity and inspected the roots which had Arbuscular mycorrhiza fungi penetration. There was Gymnema inodorum young leaves culturing with MS+1NAA+1BA formula and MS+2NAA+1BA formula, and then analyzed soil nutrients after the experiment. The results of Gymnema inodorum in control group which had Arbuscular mycorrhiza fungi showed that Arbuscular mycorrhiza fungi affected the leaves height and the leaves length but did not affect the number of leaves, the leaves width, dry weight and wet weight of leaves. The Phenolic analysis in the control group (3 4.35 ± 2.10 mg g/g.ext) and the experimental group (38.68±2.29 mg g/g.ext) have no statistical significance difference. The result of the roots inspection which had Arbuscular mycorrhiza fungi found that there were Arbuscule development in the cortex of roots and hyphae growth in the cell wall. The young leaves culturing with MS+1 NAA+1 BA formula found callus initiation higher than MS+2NAA+1BA formula. The soil nutrients analysis result was the Nitrogen, Phosphorus, and Potassium quantity in the experimental group were higher than the control group. | |
dc.description.abstract | ผักเชียงดา (Gymnema inodorum (Lour.) Decne.) เป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือของไทยที่มีการรายงานถึงสรรพคุณของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและการรักษาโรคเบาหวาน การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักเชียงดา ศึกษาผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ที่มีผลต่อปริมาณสารสำคัญของผักเชียงดา และศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากใบอ่อนของผักเชียงดา ใช้การทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (RCBD) โดยแบ่งการทดลอง เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง วัดความสูง นับจำนวนใบ วัดความกว้าง-ยาวใบ ทุก ๆ 1 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 จากนั้นวัดน้ำหนักสด-แห้งของใบผักเชียงดา แล้วนำไปวิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลิก และนำรากไปตรวจดูการเข้าไปในรากของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา นอกจากนี้ยังได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใบผักเชียงดาในสูตรอาหาร MS+1NAA+1BA และ MS+2NAA+1BA จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์หาธาตุอาหารในดินหลังการทดลอง ผลการศึกษาของผักเชียงดากลุ่มทดลองที่ใส่เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา พบว่า มีผลต่อความสูงและความยาวใบ แต่ไม่มีผลกับจำนวนใบ ความกว้างใบ และน้ำหนักสด-แห้ง สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลิกในผักเชียงดาในกลุ่มควบคุม (34.35±2.10 mg g/g.ext) และกลุ่มทดลอง (38.68±2.29 mg g/g.ext) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการตรวจเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่เข้าไปในราก พบการสร้างอาร์บัสคูลในชั้นคอร์เท็กซ์ของราก และพบเส้นใยของเชื้อราเจริญผ่านผนังเซลล์ของราก ผลการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตรอาหาร MS+1NAA+1BA จำนวนการเกิดแคลลัสเกิดได้มากกว่าสูตรอาหาร MS+2NAA+1BA ผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน พบว่า กลุ่มทดลองมีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูงกว่ากลุ่มควบคุม | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.citation | นันทิญาพรรณ ทิพย์จักร์ และพลอยชมพู ดงปาลี. (2563). ผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (Glomus sp., Acaulospora sp.) ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ปริมาณสารสำคัญของผักเชียงดา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผักเชียงดาจากใบอ่อน. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา. | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/1060 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | ผักเชียงดา | |
dc.subject | เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา | |
dc.subject | สารฟีนอลิก | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | Gymnema inodorum (Lour.) Decne | |
dc.subject | Arbuscular Mycorrhizal Fungi | |
dc.subject | Phenolic | |
dc.subject | University of Phayao | |
dc.title | ผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (Glomus sp., Acaulospora sp.) ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ปริมาณสารสำคัญของผักเชียงดา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผักเชียงดาจากใบอ่อน | |
dc.title.alternative | Effect of AM Fungi (Glomus Sp., Acaulospora Sp.) on The Growth, Phenolic a Content of Gymnema Inodorum (Lour.) Decne. and Tissue Culture of Gymnema Inodorum from Young Leaves. | |
dc.type | Other |