โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา

dc.contributor.authorธชพรรณ เหมยเมืองแก้ว
dc.contributor.authorวธิดา นามมั่น
dc.contributor.authorวริศรา วรรณา
dc.date.accessioned2024-11-27T08:54:37Z
dc.date.available2024-11-27T08:54:37Z
dc.date.issued2020
dc.descriptionThis study was done for investigating abundance, diversity, structure and distribution of the fish community in Kwan Phayao by randomly sampling with a set of 6-mesh size from September 2019 to February 2020. Field surveys was conducted in 4 sample sites; Khun Det Bridge, Ban San Wiang Mai, Ban Rong Hai and Phayao Freshwater Fisheries Research and Development Center. The results showed 22 species of fish species in 9 families were found in Kwan Phayao. The relative catch per unit of effort of a set of gillnets was 933.28 ± 169.33 g/ 100 m2/ night. As the structure of fish community, Barbonymus gonionotus showed the most composition in term of number and weight with 45.78% and 49.99% respectively. The average of richness, evenness and diversity indices of fish community were 3.56±0.11, 0.63±0.04 and 1.32±0.07 respectively. As the distribution of fish community, Barbonymus gonionotus, Cyclocheilichthys repasson, Parambassis siamensis, Labiobarbus leptocheilus and Hemibagrus spilopterus were the most species of distribution. As the effectiveness of the catch per unit effort of 20, 30, 45, 55, 70, 90 mm mesh size gillnet, 30 mm mesh size gillnet showed the most average catch per unit effort with 2435.71 g/100 m2/night.
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกชุม ความหลากหลาย โครงสร้าง และการกระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา โดยทำการสุ่มเก็บข้อมูลด้วยชุดเครื่องมือข่ายขนาดช่องตา 6 ขนาด ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยแบ่งการสำรวจออกเป็น 4 จุดเก็บตัวอย่าง ได้แก่ สะพานขุนเดช บ้านสันเวียงใหม่ บ้านร่องไฮ และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ผลการศึกษาพบชนิดพันธุ์ปลาทั้งหมด 22 ชนิด 9 วงศ์ มีค่าความชุกชุมสัมพัทธ์ของชุดเครื่องมือข่ายเฉลี่ยเท่ากับ 933.28±169.33 กรัม/ พื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตร/คืน องค์ประกอบของโครงสร้างของประชาคมปลา พบปลาตะเพียนขาวเป็นชนิดพันธุ์ปลาที่มีค่าร้อยละ โดยจำนวนและน้ำหนักสูงสุดร้อยละ 45.78 และ 49.99 ตามลำดับ ดัชนีความมากชนิด ดัชนีความเท่าเทียม และดัชนีความหลากหลายของประชาคมปลา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56±0.11, 0.63±0.04 และ 1.32±0.07 ตามลำดับ การแพร่กระจายของประชาคมปลา พบชนิดพันธุ์ปลาที่กระจายมากที่สุด ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลาไส้ตันตาขาว ปลาแป้นแก้ว ปลาซ่า และปลากดขี้ลิง ประสิทธิผลการจับของข่ายขนาดช่องตา 20, 30, 45, 55, 70 และ 90 มิลลิเมตร พบว่า ข่ายขนาดช่องตา 30 มิลลิเมตร มีผลจับเฉลี่ยสูงสุด 2435.71 กรัมต่อพื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตรต่อคืน
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationธชพรรณ เหมยเมืองแก้ว, วธิดา นามมั่น และวรศรา วรรณา. (2563). โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/1030
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectความหลากหลาย
dc.subjectความชุกชุม
dc.subjectโครงสร้าง
dc.subjectการแพร่กระจายของประชาคมปลา
dc.subjectDiversity
dc.subjectAbundance
dc.subjectStructure
dc.subjectDistribution of the fish community
dc.titleโครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
dc.title.alternativeStructure and Distribution of Fish Community in Kwan Phayao, Phayao Province
dc.typeOther
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
ติดต่อ งานส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศดิจ.pdf
Size:
46.82 KB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: