การสร้างสรรค์วรรณศิลป์ของนักเขียนสตรีในนวนิยายอิงพุทธศาสนา
dc.contributor.author | เชษฐา จักรไชย | |
dc.date.accessioned | 2024-05-29T03:02:34Z | |
dc.date.available | 2024-05-29T03:02:34Z | |
dc.date.issued | 2016 | |
dc.description | This research aims to study concept of Buddhadhamma and Art Created Language in Buddhist novels written by female writers between 1937and 2014 and twenty-four Buddhist novels were used for analytical study. The findings indicated that the most composers had incorporated three levels of Buddhadhamma to instruct readers; 1) Ditthadhammikhattha (sources of happiness in the present life) as basic level, 2) Samparayikattha (sources of happiness in the future life) as an intermediate level, and 3) Paramattha (the Absolute Truth) as advanced level. With regard to Art Created Language, composers opened the stories by narrating setting, incidences, and characters. These were found in 10 novels or 41.66 percent. In point of conflict in the story, the writers frequently created conflicts between human, and self conflict of characters. These were found in 11 novels, 45.83 percent. Regarding the use of the sequence of event, the chronological order like calendar was generally used in 22 novels which accounted 91.66 percent. The happy ending was often used in 15 novels or 62.50 percent. The omniscient narration strategy was found in 21 novels that accounted 87.5 percent. In terms of character creation strategies, 24 novels presented major and minor characters and dialogue creation to reveal characteristics and habits of characters was found in 12 novels or 50 percent. In setting creation strategies, it was found that artifacts setting were used in 10 novels or 41.68 percent. Besides, two main types of Art Created Language discourse analysis were found; words and contents. Eight word types were found in the novels consisting of words which are synonymous, rhyming, technical, imagery, onomatopoeic, duplicative, reduplicative, and alliterative. Concerning Art Created Language in discourse analysis, four strategies; eloquence, figure of speech, literature language and literature stylistics have been used in the novels. The study shows that three levels of Buddhadhamma had been included in Art Created Language in Buddhist novels and the writers had adapted and created new novel traits to help readers easily understand Buddhadhamma. | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธธรรมและการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ ในนวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์นวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรีที่ประพันธ์ในระหว่าง พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2557 จำนวน 24 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประพันธ์นวนิยาย ส่วนใหญ่ใช้การสอดแทรกแนวคิดเรื่องพุทธธรรม เพื่อสอนให้คนเป็นคนดีด้วยพุทธธรรม 3 ระดับ คือ แนวคิดพุทธธรรมระดับพื้นฐาน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) แนวคิดพุทธธรรมระดับกลาง (สัมปรายิกัตถะ) และแนวคิดพุทธธรรมระดับสูงสุด (ปรมัตถะ) ส่วนผลการวิเคราะห์ด้านวรรณศิลป์ในนวนิยายนั้น พบว่า แนวคิดด้านองค์ประกอบในนวนิยายนั้น พบว่า ผู้แต่งนิยมเปิดเรื่องด้วยการบรรยายฉาก เหตุการณ์ และตัวละคร พบมากที่สุด จำนวน 10 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41.66 การสร้างความขัดแย้งในเรื่องนั้นผลการศึกษา พบว่า ผู้แต่งนิยมใช้วิธีสร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของตัวละครมากที่สุด จำนวน 11 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 45.83 การลำดับเหตุการณ์ผลการศึกษา พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้การลำดับเหตุการณ์แบบปฏิทินพบมากที่สุด จำนวน 22 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 91.66 ผู้เขียนนิยมการปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรมมากที่สุด จำนวน 15 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 62.50 กลวิธีการสร้างสรรค์มุมมองการเล่าเรื่อง พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้กลวิธีการเล่าเรื่องแบบผู้แต่งเป็นผู้รู้แจ้งมากที่สุด จำนวน 21 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 87.5 ในการสร้างสรรค์ตัวละครทั้ง 24 เรื่อง ประกอบไปด้วยตัวละครเอก และตัวละครสนับสนุนกลวิธีการสร้างสรรค์บทสนทนา พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้บทสนทนาเพื่อบอกลักษณะและอุปนิสัยของตัวละครมากที่สุด จำนวน 12 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50 และกลวิธีการสร้างสรรค์ฉาก พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้ฉากที่เป็นสิ่งประดิษฐ์มากที่สุด จำนวน 10 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41.68 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลกลวิธีการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ทางภาษา พบกลวิธีการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ 2 ลักษณะ คือ กลวิธีการสร้างสรรค์ภาษาวรรณศิลป์ระดับคำซึ่งพบใน 8 ลักษณะ คือ การหลากคำ การใช้คำเพื่อเสียงสัมผัส การใช้คำสูง การใช้คำสร้างจินตภาพ การใช้คำเลียนเสียง การใช้คำซ้ำ การซ้ำคำ และการใช้คำซ้อน ส่วนวรรณศิลป์ระดับข้อความพบใน 4 ลักษณะ คือ การใช้โวหาร การใช้ภาพพจน์ การใช้ลีลาภาษาวรรณคดี และการใช้รสวรรณคดีผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ ในนวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรี ได้นำหลักพุทธธรรมระดับพื้นฐาน หลักพุทธธรรมระดับกลาง และหลักพุทธธรรมระดับสูงสุด มาใช้สอดแทรกเพื่อให้ผู้อ่านนำมาใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้ผู้แต่งได้มีการปรับรูปแบบหรือสร้างสรรค์ลักษณะขององค์ประกอบของนวนิยายขึ้นใหม่ตาม ขนบของนวนิยายร่วมสมัยเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงแนวคิดทางพุทธศาสนาได้ง่ายยิ่งขึ้น | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.citation | เชษฐา จักรไชย. (2559). การสร้างสรรค์วรรณศิลป์ของนักเขียนสตรีในนวนิยายอิงพุทธศาสนา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC). | tha |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/542 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | วรรณศิลป์ | |
dc.subject | นักเขียนสตรี | |
dc.subject | นวนิยายอิงพุทธศาสนา | |
dc.subject | Art created language | |
dc.subject | Female writer | |
dc.subject | Buddhist novel | |
dc.title | การสร้างสรรค์วรรณศิลป์ของนักเขียนสตรีในนวนิยายอิงพุทธศาสนา | |
dc.title.alternative | Art of Language Creation in Buddhist Novels of Female Writers | |
dc.type | Thesis |