แนวทางการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำกลุ่มจังหวัดภาคกลาง
Loading...
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว และส่วนประสมทางการตลาด (9P's) การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง 2) ประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง 3) ศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง และ 4) นำเสนอแนวทางการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัย ใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเพียร์สัน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และภาคชุมชน จำนวน 36 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ในช่วงวันหยุดเทศกาล โดยเดินทางกับครอบครัวและญาติ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่ำกว่า 2,000 บาท ส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี มีผู้ร่วมเดินทาง 4-5 คน ความถี่ในการเดินทางต่ำกว่า 3 ครั้ง/เดือน ชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และค้นหาข้อมูลจากสื่อออนไลน์ และนักท่องเที่ยวมีความต้องการปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ด้านศักยภาพการท่องเที่ยว ในด้านกายภาพ มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ในด้านเศรษฐกิจ มีการส่งเสริมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นสินค้า 0TOP นวัตวิถี ทางด้านสังคมมีการรวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มีการรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการ 3) ด้านองค์ประกอบการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว มีศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ และองค์ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ในด้านกิจกรรม มีการพัฒนากิจกรรมเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วม การคมนาคม สามารถเข้าถึงได้สะดวกโดยรถยนต์ส่วนตัว ทางสิ่งอำนวยความสะดวก มีจุดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวแต่ยังไม่เพียงพอ ที่พักแรมมีโฮมสเตย์ แต่ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ด้านการบริการเสริมการท่องเที่ยว มีการจัดกิจกรรมที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 4) ด้านการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ผู้วิจัยเสนอรูปแบบ MUST Model ประกอบด้วย การจัดการ (M) ความร่วมมือระหว่างชุมชน (U) การเพิ่มทักษะในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี (S) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (T)
Description
This research aimed to 1) study the behavior of tourists and marketing mix (9P's) Thai Song Dam ethnic tourism, 2) to assessing the potential of Thai Song Dam ethnic tourism, 3) to study the components of ethnic tourism, Thai Song Dam and 4) to study the components of Thai Song Dam ethnic tourism and 5) to present guidelines for the development and promotion of Thai Song Dam ethnic tourism. This research is mixed-method research consisting of a quantitative research and a quantitative research. The quantitative research was a study using questionnaires distributed among 400 Thai tourists who traveled to ethnic Thai Song Dam in the central province group by the questionnaire. The data were analyzed with descriptive statistics including percentage, mean and standard deviation. Hypothesis testing used inferential statistics including Chi-square test and Pearson's method. The qualitative research used in-depth interviews with government officers, private entrepreneurs, academicians, and community leaders with the total of 36 persons. The research results were as follows 1) Tourism behavior: Most of them traveled for recreation during the holidays. They traveled with family and relatives, and the cost of travel was less than 2,000 baht. Most of them traveled in Phetchaburi in a group of 4 to 5 persons. The frequency of travel was less than three times/month. They preferred tourism attractions that were local wisdom and searched the information from online media and other tourists. The average of demand for the marketing mix was at a high level. 2) Tourism potential: Physically, there were tourist attractions that were the identity of the Black Thai ethnic groups. Economically, local products were promoted as OTOP products of innovative society with members joining together to conserve Thai Song Dam culture. Regarding environmental management, there is an environmentally friendly community environment. Some local government organizations participated in the administration. 3) Tourism components of attraction: There is the Thai Song Dam Cultural Center to disseminate the body of knowledge about the way of life. The areas could be easily accessed by using private cars. Regarding facilities, there are service points for tourists, but not enough. There are homestay accommodation services. However, they do not cover all areas. Some activities reflected local wisdom and culture, and 4) Guidelines for the development and promotion of Thai Song Dam ethnic tourism in the central province group: the researcher proposed the "MUST Model" consisting of Management (M), Unity for co-operation among communities (U), Social Training to re-skill and up-skill local people (S), Technology for digital transformation (T).
Keywords
แนวทางการพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์, ไทยทรงดำ, กลุ่มจังหวัดภาคกลาง, Development Guidelines, Ethnic Tourism, Thai Song Dam, Central Provinces