สภาพการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย

dc.contributor.authorวัชรินทร์ อิ่นแดง
dc.date.accessioned2024-01-14T06:11:22Z
dc.date.available2024-01-14T06:11:22Z
dc.date.issued2018
dc.descriptionThe purposes of this research were to investigate the conflict management in Department of PraPariyatti Dhamma Schools of the General Education Section Chiang Rai Province. the purposes of this study were: 1) to situation of conflict management and 2) to find out the guideline for conflict management in department of PraPariyatti Dhamma Schools of the General Education Section Chiang Rai Province of the population of the study was 186 school teachers and officials in Department of PraPariyatti Dhamma Schools In the academic year 2017. The research instruments drawn for the was a 5 rating scale questionnaire Created by the researcher. The data were systematically analyzed by using mean and standard deviation. The results of the study were found as follows: 1) The situation of conflict management in Department of PraPariyatti Dhamma Schools of the General Education Section Chiang Rai Province was in general at the high level. When considered in each aspect as follows the highest average it appeared that the accommodation ranked at the highest level as the very average of items; the school administrators present an opportunity to solve teachers common problems at the parallel. The secondary was compromising in general was ranked at the high level as the very average of items; the school administrators is attempt for the benefit of all parties and find a solution together and the lowest mean was avoiding in general was ranked at the average level as the very average of items; The school administrators avoidance from sharing their opinion that would bring them to argumentation. 2) The guideline for conflicted management in department of PraPariyatti Dhamma Schools of the General Education Section Chiang Rai Province were concluded as follows; The school management should take into account the regulations. and justice to solve the problem straightforwardly and The school management executives should be aware of the collaborative and collaborative relationships between co-workers. and the school management should strive to maintain harmony and seek all parties to solve the problem. and The school management executives should avoid issues that will cause conflicts between teachers or teachers and administrators. Last article the school management of administrators should know to allow subordinates some issues. to be the high benefit In school administration.
dc.description.abstractการศึกษาสภาพการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรม และ 2) เพื่อหาข้อเสนอแนะการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นครูและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 186 รูป/คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่ และมอร์แกน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา โดยภาพรวมมีการดำเนินงานบริการความขัดแย้งระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการยอมให้มีการดำเนินงานบริหารระดับมาก ข้อที่มีการดำเนินงานบริหารระดับมากที่สุดในด้านนี้ คือ ผู้บริหารยอมให้โอกาสครูเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการบริหารจัดการโรงเรียนร่วมกัน โดยไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรู้สึกเสียประโยชน์ หรือรู้สึกแพ้ชนะในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น รองลงมาได้แก่ ด้านการประนีประนอม มีการดำเนินงานบริหารความขัดแย้งระดับมาก ข้อที่มีการดำเนินงานบริหารความขัดแย้งมากที่สุดในด้านนี้ คือ ผู้บริหารมุ่งให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ และหาวิธีร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในโรงเรียน ส่วนด้านที่มีการดำเนินงานบริหารความขัดแย้งต่ำสุด ได้แก่ ด้านการหลีกเลี่ยง มีการดำเนินงานบริหารความขัดแย้งระดับปานกลาง ข้อที่มีการดำเนินงานบริหารความขัดแย้งระดับมากที่สุดในด้านนี้ คือ ผู้บริหารหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นที่จะนำไปสู่การขัดแย้งระหว่างครูในการบริหารงานโรงเรียน 2) ข้อเสนอแนะการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา มีดังนี้ การบริหารจัดการโรงเรียนควรให้ทุกฝ่ายในโรงเรียนยึดถือระเบียบข้อบังคับของสำนักงานพระพุทธศาสนา และผู้บริหารควรมีความยุติธรรมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา และการบริหารจัดการโรงเรียนควรตระหนักถึงการให้ความร่วมมือ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงานให้มีเป้าประสงค์ของงานร่วมกัน และการบริหารจัดการโรงเรียนควรสร้างความปรองดองรักษาน้ำใจของผู้ร่วมงาน และให้ความร่วมมือทุกฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหา และการบริหารจัดการในโรงเรียนควรหลีกเลี่ยงประเด็นที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างครูหรือครูกับผู้บริหาร ประการสุดท้าย การบริหารจัดการในโรงเรียนผู้บริหารควรรู้จักที่จะยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาบ้างในบางประเด็น เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารโรงเรียน
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/233
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectการบริหารความขัดแย้ง
dc.subjectโรงเรียนพระปริยัติธรรม
dc.subjectConflict Management
dc.subjectPraPariyatti Dhamma schools
dc.titleสภาพการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย
dc.title.alternativeConflict Management Situation in Department of Prapariyattidhamma Schools of the General Education Sectionchiang Rai Province
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
59170147.pdf
Size:
1.01 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: