พลังงานมืดแบบกฎกำลังของเตคีออน

dc.contributor.authorน้ำเพชร แก้ววิลัย
dc.date.accessioned2024-12-09T09:24:49Z
dc.date.available2024-12-09T09:24:49Z
dc.date.issued2017
dc.description.abstractการกำเนิดของเอกภพเป็นการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ จากพลังงานบางอย่างสาดกระจายมวลสารทั้งหลายออกไปทุกทิศทาง เรียกว่า บิกแบง (Big Bang) เมื่อเริ่มเย็นตัวลง จับกลุ่มเป็นก้อนก๊าซขนาดใหญ่ จนยุบตัวลงเป็นกาแล็กซี และดาวฤกษ์ ได้ก่อรูปขึ้นมาในกาแล็กซีเหล่านั้น ประมาณหนึ่งหมื่นล้านปีหลังจากการระเบิดใหญ่ที่เกลียวของกาแล็กซีทางช้างเผือก ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเคราะห์ดวงอื่นได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นระบบสุริยะ บิกแบง จึงเป็นแบบจำลองของการกำเนิด และการวิวัฒนาการของเอกภพในวิชาจักรวาลวิทยา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก ทฤษฎีบิกแบง จะกล่าวถึง แนวคิดการขยายตัวของเอกภพ หลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อน และหนาแน่น อย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีตและยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันเอกภพเรากำลังขยายตัว ซึ่งมีข้อสนับสนุนจากการทดลอง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นสเปกตรัมของธาตุที่อยู่ในดาวฤกษ์ และกาแล็กซี่ปรากฏว่า เลื่อนไปทางสีแดง แสดงถึงเป็นพวกที่มีความถี่ต่ำ เรียกว่าปรากฏการณ์นี้ว่า “การเลื่อนไปทางสีแดง” (Red shift) ทำให้ทราบว่า ดาวฤกษ์ และกาแล็กซี่ นั้น กำลังเคลื่อนที่ออกจากเรา เอกภพมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยการขยายตั วของเอกภพคาดว่า เริ่มมาประมาณ 10 พันล้านปีมาแล้ว ปัจจุบันจึงมีการเสนอแบบจำลองมากมาย เพื่อที่จะนำมาอธิบาย การเร่งออกของจักรวาล โดยที่แบบจำลองเตคีออน เป็นแบบจำลองหนึ่งที่จะใช้น้ำมาอธิบายการขยายตัวแบบเร่งออกของจักรวาลในปัจจุบัน และแบบจำลองเตคีออนนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา รวมถึง แบบจำลองกฎกำลังแบบจำลองเตคีออนแบบกฎกำลัง และแบบจำลอง ACDM จากนั้น ได้ศึกษาผลของแบบจำลองเตคีออนแบบกฎกำลัง ซึ่งหาค่าสมการสถานะ wϕ และพารามิเตอร์ความหน่วง q ของแบบจำลอง โดยนำข้อมูลมาจากยานสำรวจอวกาศ WMAP9 ที่รวมกับข้อมูลอื่น ๆ คือ WMAP9+eCMB+BAO+H0 และจากยานสำรวจอวกาศ PLANCK ที่รวมกับ TT; TE;EE+lowP+Lensing+ext ค่าสมการสถานะ ที่ได้จากแบบจำลอง มีค่า wϕ ͌ -0:33+0:09-0:08 (WMAP9+eCMB+BAO+H0) และ wϕ ͌ -0:39 ±0:033 (TT; TE;EE+lowP+Lensing+ext) ตามลำดับ และค่าพารามิเตอร์ความหน่วงที่คำนวณได้มีค่า มากกว่าศูนย์ เมื่อนำมาเทียบค่าจากยานสำรวจอวกาศ พบว่า ค่าพารามิเตอร์ความหน่วงต้องน้อยกว่าศูนย์ และค่าสมการสถานะ wϕ = -1:037+0:071 -0:070 (WMAP9+eCMB+BAO+H0) ที่ระดับความน่าเชื่อถือ 68 เปอร์เซ็นต์ และ wϕ 􀀀 1:019+0:075 0:080 (TT, TE, EE+lowP+Lensing+ext) ที่ระดับความน่าเชื่อถือ 68 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นว่าผลที่ได้จากแบบจำลอง มีค่าต่างจากการสำรวจมาก ดังนั้นแบบจำลองเตคีออนแบบกฎกำลัง จึงไม่สามารถนำมาใช้อธิบายการขยายตั วแบบเร่งออกของเอกภพได้ สามารถเขียนฟังก์ชันศักย์ของเตคีออนในรูป V (ϕ) / ϕ-2 และพบว่า พารามิเตอร์แกมม่า Γ มีค่าเท่ากับ 1.5 ที่ปัจจุบัน
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationน้ำเพชร แก้ววิลัย. (2560). พลังงานมืดแบบกฎกำลังของเตคีออน. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/1106
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectพลังงานมืด
dc.subjectสนามสเกลาร์
dc.subjectเตคีออน
dc.subjectกฎกำลัง
dc.titleพลังงานมืดแบบกฎกำลังของเตคีออน
dc.title.alternativeTachyonic Power-Law Dark Energy
dc.typeOther
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
ติดต่อ งานส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศดิจิทัล.pdf
Size:
46.82 KB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: