การศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยทับช้าง

Abstract
การศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ 3 สถานีในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ได้แก่ สถานีที่ 1 คือ อ่างเก็บน้ำบริเวณสะพานห้วยทับช้างตรงข้ามหอพักนิสิตเวียงพะเยา สถานีที่ 2 คือ อ่างเก็บน้ำอยู่บริเวณตรงข้ามประตูศรีโคมคำ สถานีที่ 3 คือ อ่างเก็บน้ำห้วยทับช้าง ซึ่งตั้งอยู่บ้านห้วยเคียน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาปัจจัยทางชีวภาพของแหล่งน้ำ ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช โดยใช้การจัดระดับคุณภาพน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชตามวิธี AARL-PP Score และเพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพและทางเคมีของแหล่งน้ำ โดยใช้การจัดคุณภาพน้ำตามปริมาณของสารอาหารโดยวิธี AARL-PC Score จากการศึกษาปัจจัยทางชีวภาพ (แพลงก์ตอนพืช) พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 7 Division 47 Genus โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Chlorophyta รองลงมา คือ Division Euglenophyta และ Division Cyanophyta ตามลำดับ โดยสถานีที่ 1 แพลงก์ตอนชนิดเด่น ได้แก่ Oscillatoria, Trachelomonas, Phacus และ Euglena สถานีที่ 2 แพลงก์ตอนชนิดเด่น ได้แก่ Trachelomonas, Merismopedia, Oscillatoria และ Micractinium และสถานีที่ 3 แพลงก์ตอนชนิดเด่น ได้แก่ Dictyospherium, Peridinium, Pediastrum และ Lepocinclis คุณภาพน้ำสถานีที่ 1 และ สถานีที่ 2 อยู่ในระดับ Eutrophic สารอาหารสูง คุณภาพน้ำไม่ดี และคุณภาพน้ำในสถานีที่ 3 อยู่ในระดับ Meso-eutrophic สารอาหารปานกลางถึงสูง คุณภาพน้ำปานกลางถึงไม่ดี และจากการศึกษาคุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมี พบว่า ค่าอุณหภูมิอยู่ในช่วง 22.8-30.5 oC, ค่าการนำไฟฟ้าอยู่ในช่วง 216-428 μs/cm, ค่าความเป็นกรด-เบสอยู่ในช่วง 7.5-8.5, ค่า DO อยู่ในช่วง 1.06- 4.63 mg/l, ค่า Ammonia-Nitrogen อยู่ในช่วง 1.16-8.88 mg/l, ค่า Nitrate-Nitrogen อยู่ในช่วง 0.10-0.20 mg/l, ค่า Nitrite-Nitrogen อยู่ในช่วง 0.04-0.23 mg/l, ค่า Phosphate-phosphorus อยู่ในช่วง 0.65-3.48 mg/l พบว่า คุณภาพน้ำทั้ง 3 สถานี อยู่ในระดับ น้ำคุณภาพปานกลางค่อนข้างเสีย
Description
A study on the diversity of phytoplankton in 3 stations were carried out during September to November 2016. The first area is reservoir where locate at Huai Tab-Chang Bridge across Wiang-Phayaos dormitory. The second area where opposite of is reservoir Sri-Kom-Kam Gate. The third area is Huai Tab-Chang reservoir at Ban-Haui-kian, Thumbol Mae-ka, Aumpher Mueng in Phayao Province. The purposes of the study are to conduct the biotic factors of water resources such as the phytoplankton, using AARL-PP Score for ranking a water quality and to study the physical and chemical properties of the water. The 47 genera from 7 division of phytoplankton were found. The most diverse group was Chlorophyta, Euglenophyta and Division Cyanophyta respectively. The station 1, the dominant genera were Oscillatoria, Trachelomonas, Phacus and Euglena. The station 2, the dominant genera were Trachelomonas, Merismopedia, Oscillatoria and Micractinium. The station 3, the dominant genera were Dictyospherium, Peridinium, Pediastrum and Lepocinclis. The water quality of the station 1, 2 were classified as moderate-poor (eutrophic status), and the station 3 as moderate-polluted water quality (meso-eutrophic status). The physical and chemical properties of the water showed as follow (in range), the temperatures was 22.8-30.5 oc. The conductivity was 428-245 μs/cm. The pH was 7.5- 8.5. The DO was 1.06-4.63 mg/l. The Ammonia-nitrogen was 1.16-8.88 mg/l. The Nitrate-nitrogen was 0.10-0.20 mg/l. The Nitrite-nitrogen was 0.04-0.23 mg/l. The Phosphate-phosphorus was 0.65-3.48 mg/l. The water quality in the station 1 to station 3 were classified as moderate-polluted water quality (meso-eutrophic status).
Keywords
แพลงก์ตอนพืช, คุณภาพน้ำ, Phytoplankton, Water Quality
Citation
เบญจวรรณ เจริญสุข และปิยะวรรณ ศรีโสดา. (2559). การศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยทับช้าง. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.