การวิเคราะห์ทางมอร์โฟเมตริกของผึ้งโพรงไทย (Apis cerana indica) และผึ้งโพรงจีน (Apis cerana cerana)

Abstract
การวิเคราะห์การวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน และทางเรขาคณิตดำเนินการศึกษาในผึ้งโพรง (Apis cerana) จำนวน 51 รัง 388 ตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างเก็บมาจากกลุ่มผึ้งโพรงไทย (A. c. indica) ทางเหนือของประเทศไทย (n=17 รัง, 153 ตัวอย่าง) และผึ้งโพรงจีน (A. c. cerana) จากเมืองกว่างโจว และเมืองฝูโจวของประเทศจีน (n=29, 185) และผึ้งพันธุ์จากจังหวัดเชียงใหม่ (n=5, 50) เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ ผลการวิเคราะห์การวัดสัณฐานแบบมาตรฐานแสดงให้เห็นว่าลักษณะสำคัญที่ศึกษาในทุกโครงสร้าง ได้แก่ ปีกหัว ปล้องท้องด้านบนที่ 3 4 6 และขาหลัง แสดงความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) ระหว่างกลุ่มผึ้งโพรงไทยและผึ้งโพรงจีน ยกเว้นลักษณะสำคัญในปีก ได้แก่ มุม G18 D7 และ A4 ไม่แสดงนัยสำคัญทางสถิติ ผลของการวิเคราะห์จัดกลุ่มผึ้งโพรงแบ่งออกได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ ผึ้งโพรงไทย ผึ้งโพรงจีน (กว่างโจว) ผึ้งโพรงจีน (ฝูโจว) และผึ้งพันธุ์ ซึ่งโครงสร้างส่วนหัว และส่วนปล้องท้องด้านบน แสดงการจัดกลุ่มของผึ้งโพรงจีนจากเมืองกว่างโจว และเมืองฝูโจวได้ เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มของผึ้งโพรงไทยและผึ้งโพรงจีน พบว่า ค่าร้อยละการจำแนกกลุ่มถูกต้องจากลักษณะในโครงสร้างปีก ส่วนหัวส่วนปล้องท้องด้านบน และส่วนขาหลัง แสดงค่าร้อยละเท่ากับ 93.30, 96.00, 96.40 และ 96.80 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์นี้ แนะนำให้ใช้ลักษณะสำคัญทั้งหมดในการวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน ซึ่งจะมีประสิทธิภาพและมีค่าการจำแนกกลุ่มผึ้งโพรงไทยและผึ้งโพรงจีนได้ถูกต้องร้อยละ 99.00 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์การวัดสัณฐานทางเรขาคณิตบนปีกหน้า แสดงผลการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่มผึ้งโพรงไทยและผึ้งโพรงจีนได้ถูกต้องร้อยละ 73.50 ซึ่งแสดงค่าต่ำกว่าวิธีการวัดสัณฐานแบบมาตรฐานบนปีกหน้าที่มีค่าการจำแนกกลุ่มถูกต้องร้อยละ 91.90 การศึกษานี้ สรุปได้ว่าวิธีวัดสัณฐานแบบมาตรฐานบนปีกและทุกลักษณะ จำนวน 23 ลักษณะ สามารถจำแนกชนิดย่อยผึ้งโพรงได้ดีกว่าการวัดสัณฐานทางเรขาคณิตบนปีก ซึ่งการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ประกอบการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและระบุชนิดย่อยของผึ้งโพรงไทย ผึ้งโพรงจีน และผึ้งโพรงลูกผสมในอนาคต
Description
Standard and geometric morphometric were conducted on Asian honeybees (Apis cerana) for 50 colonies, 338 samples. Bee samples were collected, A. c. indica from the northern A. cerana group of Thailand (n=17 colonies, 153 samples), and A. c. cerana from Guangzhou and Fuzhou of China (n=29, 185). And A. mellifera from Chiang Mai (n=5, 50) was an outgroup. The results of standard morphometric indicated that all key characters from wing, head, tergum 3, 4, 6 and hind legs, showed statistical significance between A. c. indica and A. c. cerana. Exceptional angle of G18, D7 and A4 characters on wing were not statistically significance. Cluster analysis divided into 4 clusters such as A. c. indica (Thai), A. c. cerana (Guangzhou), A. c. cerana (Fuzhou) and A. mellifera. Focusing on key characters of head and tergum structures represented the clustering of A. c. cerana from Guangzhou and Fuzhou. Discriminant analysis results of A. c. indica and A. c. cerana found that percentage of cross-validate classification from wing, head, tergum and hind legs characters were 93.30%, 96.00%, 96.40% and 96.80%, respectively. However, the results of this analysis suggested that all key characters for standard morphometric were effective to classifying A. c. indica and A. c. cerana for 99.00% cross-validation. Moreover, geometric morphometric on forewing showed discriminate value to classify A. c. indica and A. c. cerana groups for 73.50%. Which the percentages of cross-validation were lower than standard morphometric method, 91.90%. This research concludes that standard morphometric method on wing and all of 23 characters can identify Asian honeybee subspecies better than wing geometric morphometric method. So that the result can apply for morphological subspecies identification of A. c. indica, A. c. cerana and their hybridization in the future.
Keywords
ผึ้งโพรง, Apis cerana, การวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน, การวัดสัณฐาน, เชิงเรขาคณิต, การระบุชนิดย่อย, Asian honey bee, Standard morphometric, Geometric morphometric, Subspecies identification
Citation
บวรกูณฑ์ ดีเมฆ, ปรียาอร เถื่อนชื่น และสไบทิพย์ สมสัตย์. (2560). การวิเคราะห์ทางมอร์โฟเมตริกของผึ้งโพรงไทย (Apis cerana indica) และผึ้งโพรงจีน (Apis cerana cerana). [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.