การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของพนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

No Thumbnail Available
Date
2019
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพนักงานสายวิชาการ และสายสนับสนุนในการจัดการขยะมูลฝอย และเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพนักงานสายวิชาการ และสายสนับสนุนในการจัดการขยะในสังกัดมหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 1,827 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 301 คน โดยใช้แบบสอบถาม 5 ขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ประมวลผลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการศึกษา พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของพนักงาน ในภาพรวมระดับความคิดเห็น การแปลความของประเด็นการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของพนักงาน อยู่ในระดับทำบางครั้ง เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านความร่วมมือแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่ พบว่า บอกหรือตักเตือนเจ้าหน้าที่ที่จัดเก็บขยะหกเลอะเทอะ รองลงมา เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาขยะให้แก่มหาวิทยาลัย หรือชักชวนเพื่อนร่วมงานให้ช่วยกันดูแลเรื่องปัญหาขยะมูลฝอยในหน่วยงาน แจ้งมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานทันทีที่รถขยะไม่มาเก็บตามเวลา และร่วมให้ข้อมูลเรื่องปัญหาขยะ เมื่อมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานมีการนัดประชุม ตามลำดับ ด้านการร่วมปฏิบัติ ส่วนใหญ่ พบว่า เข้าร่วมกิจกรรมรักษาความสะอาดที่มหาวิทยาลัย และหน่วยงานจัดให้ รองลงมาแยกขยะก่อนทิ้ง แยกขยะเปียกใส่ถุงปิดเรียบร้อย และทิ้งขยะในที่ว่างหรือข้างทางตามลำดับ และด้านการร่วมลดปริมาณขยะมูลฝอย ส่วนใหญ่ พบว่า นำถุงพลาสติกหูหิ้วที่ยังมีสภาพดีกลับมาใช้ รองลงมาแยกเศษกระดาษ และเศษโลหะขวดแก้ว ขวดพลาสติกเก็บไว้ขาย รองลงมานำขวดน้ำเปล่าที่ใช้หมดแล้วมาล้างทำความสะอาดแล้วนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น และพกขวดน้ำเปล่าหรือแก้วน้ำส่วนตัวมาใช้ที่ทำงาน ตามลำดับสมมติฐาน พนักงานสายสนับสนุน มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะแตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะจำแนกตามระดับ สายวิชาการและสายสนับสนุน โดยใช้สถิติทดสอบค่าสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P=0.001)
Description
This study is a survey research. The purpose of this study is to the participation of academic staff and support lines in solid waste management and compares the participation of academic staff and support lines in waste management in University of Phayao. The population used in this study is academic staff and support lines University of Phayao, 1,827 people. Sample group of 301 people, using a 5-step questionnaire to analyze data by using statistical software program to calculate the percentage, mean, standard deviation and the statistics used to test the hypothesis One-way analysis of variance (One-way ANOVA). Education results of Phayao University employees participation in the waste sorting of employees in the overall level of opinion, interpretation of the participation issues in the separation of solid waste of employees at some level. When considering each aspect cooperation in solving problems most found tell or warn the officer that is spilled and spilled subsequently, suggesting solutions to waste problems for the university or inviting colleagues to help take care of the garbage problem in the agency, inform the university or agency as soon as the garbage truck does not collect on time and provide information on garbage problems when the university or agency has a meeting. In the order of co-operation most found participate in cleaning activities at universities and agencies. Subsequently, separate the garbage before leaving. Separate the wet wastes into the bag and dumping garbage in a vacant space or way and the reduction of waste most found bring back plastic bags that are in good condition followed by separating waste paper and scrap metal, glass bottles plastic bottles stored for sale subsequently, take a bottle of empty water that has been used to wash and then use it for other uses. And carry a bottle of water or a personal glass hypothesis support staff participate in different waste sorting, comparison results, participation in garbage disposal. Classified by level academic and support lines by using statistics to test statistics with statistical significance at the level 0.05 (P=0.001)
Keywords
การมีส่วนร่วม, การจัดการขยะ, พนักงานมหาวิทยาลัย, Participation, Waste management, University staff
Citation
ณัฐดนัย ใจดุ. (2563). การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของพนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.