ลักษณะสัณฐานวิทยาและเนื้อเยื่อวิทยาของต่อมไฮโปฟาริงจ์และต่อมแมนดิบูลาร์ในหัวของชันโรง 5 สกุล (Homotrigona, Lepidotrigona, Tetrigona, Tetragonilla และ Tetragonula)
dc.contributor.author | ณัชชา สาแก่งทราย | |
dc.contributor.author | สิริยาภรณ์ ใจสม | |
dc.contributor.author | สุภาริณี พูลเกษม | |
dc.date.accessioned | 2024-12-20T08:32:08Z | |
dc.date.available | 2024-12-20T08:32:08Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.description | Stingless bees and honeybees have exocrine gland in head, including hypopharyngeal (hg) and mandibular (mg) glands, are important roles of social insect existence. This investigation examined head structure of stingless bee in 5 genera (Homotrigona, Lepidotrigona, Tetrigona, Tetragonilla and Tetragonula) and 4 speices of honeybees (Apis cerana, A. dorsata, A. florea and A. mellifera). The purposes to compare morphology, histology and morphometric analysis of both glands. Also to develop biological techniques for bee head dissection. The results demonstrated the same of basic structure of hypopharyngeal gland in all bees. The hg gland composed of several acini cell those were spherical shape which connected in the long chain. Each acinus had small tubular secretory cell that extended from the acinus and connected to the axial duct. Class III secretory cell but was found in tissue differed structure and arrangement of cell between stingless bees and honeybees. In part of mandibular gland consisted of 2 types. The first was retromandibular gland which assembled reservoir at the end of mandible base. The Class III secretory cells were found in their tissue. The second was intermandibular gland, were found secretory cells in space of mandible. The mixture of Class I and III secretory cell in stingless bees different between honeybees. Moreover, morphometric analysis indicated that morphological sizes in each gland were not depended on body size of stingless bees. But these demonstrated relation of their behavior or activity in colony, which responded to their existence. Furthermore, biological techniques development for morphology and histology of both glands in head are suggested the Davidson's fixative for sample fixation. Also, the modification of protocol and time for dehydration and Hematoxylin and Eosin staining, are applied for other bees and insects. | |
dc.description.abstract | ชันโรงและผึ้งรวงมีต่อมหลั่งสารสู่ภายนอกในส่วนหัว ได้แก่ ต่อมไฮโปฟาริงจ์ และต่อมแมนดิบูลาร์ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของแมลงสังคม การศึกษานี้ทำการตรวจสอบโครงสร้างในหัวของชันโรง 5 สกุล (Homotrigona, Lepidotrigona, Tetrigona, Tetragonilla และTetragonula) กับผึ้งรวง 4 ชนิด (Apis cerana, A.dorsata, A. florea และ A. mellifera) วัตถุประสงค์ในครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยา เนื้อเยื่อวิทยา และการวัดขนาดทางสัณฐานวิทยาของต่อมทั้งสอง รวมทั้งประยุกต์ใช้เทคนิคทางชีววิทยาสำหรับการผ่าตัดส่วนหัวของผึ้ง ผลการศึกษาต่อมแสดงให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันของโครงสร้างพื้นฐานของต่อมไฮโปฟาริงจ์ในผึ้งที่ศึกษาทั้งหมด โดยประกอบด้วยเซลล์ต่อมขนาดเล็ก (acini) จำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมต่อเป็นสายยาว แต่ละ acini มีท่อขนาดเล็กยื่นออกมาจากเซลล์เพื่อเชื่อมติดกับท่อแกนหลัก ภายในเนื้อเยื่อพบเซลล์คัดหลั่งแบบ Class III ที่มีความแตกต่างของโครงสร้าง และการจัดเรียงเซลล์ระหว่างชันโรงและผึ้งรวง ในส่วนของต่อมแมนดิบูลาร์ ประกอบด้วย 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 ต่อม Ectomandibular จะมีถุงเก็บสารที่เชื่อมต่อกับฐานของฟันกราม พบกลุ่มเซลล์คัดหลั่งแบบ Class III ภายในเนื้อเยื่อ ประเภทที่ 2 ต่อม Intramandibular จะพบเซลล์คัดหลั่งในช่องว่างของฟันกราม ซึ่งมีเซลล์คัดหลั่งแบบ Class I และ Class III แตกต่างกัน มากกว่านี้ การวิเคราะห์การวัดสัณฐานของต่อมทั้งสอง บ่งชี้ว่าขนาดสัณฐานของแต่ละต่อมไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดลำตัวของชันโรง แต่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อการแสดงออกของพฤติกรรม หรือกิจกรรมภายในรังที่ตอบสนองต่อการดำรงชีวิตของชันโรงและผึ้งรวง นอกจากนี้การพัฒนาเทคนิคทางชีววิทยาสำหรับการศึกษาสัณฐานวิทยา และเนื้อเยื่อวิทยาของต่อมทั้งสองในส่วนหัว โดยแนะนำให้ใช้สารรักษาสภาพ Davidson’s fixative การปรับปรุงขั้นตอนและเวลาของการขจัดน้ำออกจากเซลล์และการย้อมสีเนื้อเยื่อซึ่งประยุกต์ใช้ในการศึกษาผึ้งหรือแมลงอื่น ๆ ได้ต่อไป | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.citation | ณัชชา สาแก่งทราย, สิริยาภรณ์ ใจสม และสุภาริณี พูลเกษม. (2561). ลักษณะสัณฐานวิทยาและเนื้อเยื่อวิทยาของต่อมไฮโปฟาริงจ์และต่อมแมนดิบูลาร์ในหัวของชันโรง 5 สกุล (Homotrigona, Lepidotrigona, Tetrigona, Tetragonilla และ Tetragonula). [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา. | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/1120 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | เนื้อเยื่อวิทยา | |
dc.subject | สัณฐานวิทยา | |
dc.subject | ต่อมไฮโปฟาริงจ์ | |
dc.subject | ต่อมแมนดิบูลาร์ | |
dc.subject | ชันโรง | |
dc.subject | Histology | |
dc.subject | Morphology | |
dc.subject | Hypopharyngeal glands | |
dc.subject | Mandibular glands | |
dc.subject | Stingless bees. | |
dc.title | ลักษณะสัณฐานวิทยาและเนื้อเยื่อวิทยาของต่อมไฮโปฟาริงจ์และต่อมแมนดิบูลาร์ในหัวของชันโรง 5 สกุล (Homotrigona, Lepidotrigona, Tetrigona, Tetragonilla และ Tetragonula) | |
dc.title.alternative | Morphalogy and Histology of Hypopharyngeal Glands and Mandibular Glands in Stingless Bees Head of 5 Genera (Homotrigona, Lepidotrigona, Tetrigona, Tetragonilla and Tetragonula) | |
dc.type | Other |