การศึกษาการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิช (Cherax destructor) ระยะวัยรุ่นเมื่อเพาะเลี้ยงด้วยอาหารที่มีเนื้อหมู เนื้อปลา และถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ

Loading...
Thumbnail Image
Date
2017
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาการรอดชีวิต และการเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิชระยะวัยรุ่น โดยใช้อาหารทั้งหมด 8 สูตร ที่มีเนื้อหมู เนื้อปลา และถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบร่วมกับการเติมและไม่เติมสารแอนโทไซยานินจากน้ำข้าวก่ำพะเยา โดยแต่ละสูตรมีโปรตีนร้อยละ 50 โดยมวล และมีสารอาหารพื้นฐานในปริมาณเท่ากัน ชุดควบคุม คือ อาหารกุ้งก้ามกรามโปรตีนร้อยละ 45 เพาะเลี้ยงกุ้งเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยให้อาหาร จำนวน 1 มื้อต่อวัน พบว่า กุ้งที่ได้รับอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อปลาร่วมกับถั่วเหลืองมีอัตราการรอดชีวิตสูงที่สุดคือร้อยละ 100 ส่วนกุ้งที่เพาะเลี้ยงด้วยอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อปลาเพียงอย่างเดียวมีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด โดยมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงที่สุด (ร้อยละ 95.4) ความยาวที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงที่สุด (ร้อยละ 22.8) และมีพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงที่สุด (ร้อยละ 131.7) ซึ่งแตกต่างจากอาหารอีก 7 สูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และให้อัตราการแลกอาหารเป็นเนื้อต่ำที่สุด คือ 4.1 จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำทางกายภาพ พบว่า อาหารที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ ให้ค่าแอมโมเนียในน้ำสูงที่สุด (8.7 มิลลิกรัมต่อลิตร) ภายหลังเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 15 วัน ส่งผลให้เกิดการตายในกุ้งมากกว่าอาหารที่มีเนื้อปลาเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นเนื้อปลาจึงเป็นแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมในการนำมาใช้พัฒนาเป็นอาหารกุ้งเครย์ฟิชในระบบปิดต่อไปในอนาคต
Description
Study on survival and growth of juvenile crayfish (Cherax destructor) fed with 8 practical diets. The experimental diets containing pork, fish and soybeans with/without anthocyanin from the filtrate of purple rice (Khum Phayao). Each diet has protein level at 50% (w/w) with the same amount of basic nutrients. The control diet used prawn meal at 45% protein. The prepared diets were offered to crayfish once a day for 90 days. The result showed that crayfish fed with diet prepared from fish mixed with soybean had highest survival rate (100%). Whereas crayfish fed with diet prepared from fish had highest growth performance with highest average weight gain (95.4%), highest average length (22.8%) and highest average body area (131.7%) which was significantly different among 7 treatments (p>0.05). This diet also showed good result of feed conversion ratio (FCR) at 4.1. The physical water quality was also monitored. The diet prepared from pork had highest ammonia level at 8.7 mg/L after culture for 15 days leading to had higher mortality in crayfish than the diet prepared from fish. Therefore, fish is suitable ingredient to be used in further development of crayfish meal for close water system.
Keywords
กุ้งเครย์ฟิช, อาหารเลี้ยงกุ้ง, การรอดชีวิต, การเจริญเติบโต, crayfish, crayfish diet, survival, growth
Citation
นันทิยา ดวงคำ. (2560). การศึกษาการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิช (Cherax destructor) ระยะวัยรุ่นเมื่อเพาะเลี้ยงด้วยอาหารที่มีเนื้อหมู เนื้อปลา และถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.