การพัฒนาสมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนกีฬาสังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถะหลักที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ และเพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ โดยจำแนกตาม วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครู คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การคำนวณของเครซี่และมอร์แกน (ค.ศ. 1970) จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยแบบสอบถามหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานแต่ละข้อดังนี้ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ใช้ T-test, F-test ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาสมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนกีฬาจากผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความคิดเห็นต่อ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด (4.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นมากที่สุด คือ สมรรถนะการบริการที่ดี อยู่ในระดับมากที่สุด (4.61) รองลงมา คือ สมรรถนะการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด (4.60) สมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด (4.59) สมรรถนะด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูอยู่ในระดับมากที่สุด (4.57) และมีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ สมรรถะการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมากที่สุด (4.56) ตามลำดับ และพบว่า วุฒิการศึกษาสูงสุด และประสบการณ์การทำงาน มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการพัฒนาสมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในเรื่องการพัฒนาสมรรถนะหลักแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Description
The research purposes was to study the development of core competencies that affect the performance of sports school teachers, according to the opinions of administrators and teachers, and to compare the development of core competencies that affect the performance of sports school teachers, according to the opinions of administrators and teachers of sports schools, Under the National Sports University. Classified by status the population in this study. The research population were: administrators and teachers, the sample size was calculated to represent the population using Krejcie and Morgan (1970) calculations, quantity 175 people. Frequency, percentage, mean, standard deviation Analysis to test each hypothesis as follows. Analysis of the relationship between personal factors use: T-test, F-test. The sample were males, 56.00%, highest educational qualification, bachelor's degree, 76.00%, teachers, 93.14%, this one had 6 to 10 years of working experience, 42.86%. The respondents had their opinions on the core competency management of sports school teachers, Affiliated with the National Sports University at a high level. Mean 4.59. The results that Personnel's status consisted of sex, highest educational qualification, position, and different work experiences, influenced opinions about the core competency management of sports school teachers, Under the National Sports University. The difference was at the level of statistically significant at 0.05.
Keywords
การพัฒนา, สมรรถนะหลัก, การปฏิบัติงาน, ครูโรงเรียนกีฬา, Administration, Core competencies, National Sports University
Citation