ผลของโปรแกรมการให้ทันตสุขศึกษาที่มีต่อประสิทธิผลการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
dc.contributor.author | ภาณุมาศ คำชุม | |
dc.date.accessioned | 2024-02-09T04:41:59Z | |
dc.date.available | 2024-02-09T04:41:59Z | |
dc.date.issued | 2019 | |
dc.description | This quasi-experimental research was performed to study The Effects of Dental Health Education Program on Dental Caries Prevention Behavior among Primary School Students, Wiang Sub-district, Chiangkham District, Phayao Province. The samples consisted of 59 students; 34 students as experiment group were educated dental health based on perceived self-efficacy of Bandura and 25 students were assigned as a control group. Data were collected by questionnaire and dental plaque recording. The statistics used for analyzing data were Paired samples t-test, and Independent samples t-test. The results revealed that after getting dental health in experiment group the mean of knowledge, perceived self-efficacy, outcome expectation and dental caries prevention behavioral were significantly higher than before (p < 0.05). Additionally, the mean score of dental plaque was significantly lower than before (p < 0.05). Comparing to the control group, the mean scores of knowledge, perceived self-efficacy, outcome expectation and dental caries prevention behavioral of the experimental group were higher and mean score of dental plaque of the experimental group was significantly lower (p < 0.05). | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ทันตสุขศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง 59 คน ประกอบด้วยกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่พัฒนาตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura ใช้เวลาศึกษา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบก่อน และหลังการทดลองในทั้งสองกลุ่ม โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ วิเคราะห์สถิติ คือ Paired sample T-test และ Independent sample T-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 (α = 0.05) ผลการศึกษาพบว่า หลังจากได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษา กลุ่มทดลองมีความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดี และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคฟันผุ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์หลังการแปรงฟันน้อยลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มทดลองมีความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดี และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคฟันผุสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันน้อยกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/301 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | โปรแกรมการให้ทันตสุขศึกษา | |
dc.subject | ประสิทธิผลการป้องกันโรคฟันผุ | |
dc.subject | การรับรู้ความสามารถตนเอง | |
dc.subject | โรคฟันผุ | |
dc.subject | นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย | |
dc.subject | Dental health education program | |
dc.subject | The effective of dental caries prevention | |
dc.subject | Perceived self-efficacy | |
dc.subject | Dental caries | |
dc.subject | Primary School Student | |
dc.title | ผลของโปรแกรมการให้ทันตสุขศึกษาที่มีต่อประสิทธิผลการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |
dc.title.alternative | The Effects of Dental Health Education Program on The Effective of Dental Caries Prevention Among Primary School Students, Wiang Subdistrict, Chiangkham District, Phayao Province | |
dc.type | Thesis |