การใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำห้วยแม่กาหลวง จังหวัดพะเยา
No Thumbnail Available
Date
2018
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำ และแมลงน้ำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม พ.ศ. 2561 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพน้ำในห้วยแม่กาหลวง ด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพของลำธารโดยใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีชีวภาพ โดยใช้ BMWP’s Score, ASPT ดัชนีชีวภาพ ได้แก่ ดัชนีความคล้ายคลึง ดัชนีความหลากหลายของแชนนอน-วีเนอร์ และดัชนีความสม่ำเสมอ ผลการศึกษาด้านกายภาพและเคมี พบว่าห้วยแม่กาหลวงมีค่าอุณหภูมิน้ำเฉลี่ยอยู่ในช่วง 23.03-24.83 °C ค่าความเร็วกระแสน้ำเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.13-0.26 m/s ค่าปริมาณกระแสน้ำเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.16-0.88 m3/s ค่า pH เฉลี่ยอยู่ในช่วง 7.59-7.71 ค่าการนำไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 230.33-456.33 μs/cm ค่า DO เฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.33-7.47 mg/l ค่า BOD เฉลี่ยอยู่ในช่วง 3.00-3.57 mg/l ค่าไนเตรทเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.5-0.533 mg/l ค่าไนไตรทเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.004-0.042 mg/l ค่าแอมโมเนียเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.1867-2.416 mg/l ค่าฟอสเฟสเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.236-3.00 mg/l จากการวิเคราะห์ ANOVA พบว่า คุณภาพน้ำในแต่ละจุดศึกษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 99% (P<0.01) ผลการศึกษา ปัจจัยทางชีวภาพ พบแมลงน้ำ 5 อันดับ 16 วงศ์ จากค่า ASPT พบว่า จุดศึกษาที่ 3 และ 4 มีค่า ASPT น้อยที่สุด (2.00) ซึ่งบ่งบอกคุณภาพอยู่ในระดับสกปรก จุดศึกษาที่ 1 มีค่า ASPT มากที่สุด (8.67) ซึ่งบ่งบอกคุณภาพน้ำอยู่ในระดับดี ค่าดัชนีความคล้ายคลึง พบว่า ความคล้ายคลึง จากการเปรียบเทียบวงศ์ของแมลงน้ำทั้ง 4 จุดศึกษามีค่า 48.11% ดัชนีความหลากหลายของแชนนอน-วีเนอร์และดัชนีความสม่ำเสมอมีค่า 0.47 และ0.40 บงบอกถึงชนิดแมลงน้ำกระจายตัวสม่ำเสมอ
Description
This study, water samples and aquatic insects were collected during February to March 2018. The objective of this study is to compare the physical, chemical and biological properties of stream by using BMWP’s Score, ASPT, Biotic index such as Similarity index, Shannon-Wiener diversity index and Evenness index. The result showed the mean of physical and chemical factors, water temperature was 23.03-24.83 °C, velocity was 0.13-0.26 m/s, water discharge was 0.16-0.88 m3/s, pH was 7.59-7.71, conductivity was 230.33-456.33 μs/cm, DO was 2.33-7.47 mg/l, BOD was 3.00-3.57 mg/l, nitrate-nitrogen was 0.5-0.533 mg/l, nitrite-nitrogen was 0.004-0.042 mg/l, ammonia-nitrogen was 0.1867-2.416 mg/l and phosphate-nitrogen was 0.17-1.21 mg/l. The ANOVA showed that the water quality in each sampling sites were not different at a confidence level of 99% (P <0.01). The result on biotic factor showed 5 orders and 16 families of the aquatic insects were collected. The ASPT revealed that the sampling point 3 and 4 had the lowest ASPT’s score (2.00), which indicate a polluted water. The sampling point 1 had the highest score (8.67), which indicate a good water. By Comparing a families of aquatic insects of 4 sampling points, a similarity index was 48.11%. Shannon-Wiener diversity index and Evenness index were 0.47 and 0.40, which indicated a regular distribution.
Keywords
แมลงน้ำ, คุณภาพน้ำ, ดัชนีชีวภาพ, Aquatic Insects, Water quality, Biological indicator
Citation
กาญจนา ขันทะ และณัฐกา คำพันธ์. (2561). การใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำห้วยแม่กาหลวง จังหวัดพะเยา. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.