ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มยกกระบัตรอำเภอสามเงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1

No Thumbnail Available
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มยกกระบัตร อำเภอสามเงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มยกกระบัตร อำเภอสามเงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา ในกลุ่มยกกระบัตร อำเภอสามเงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มยกกระบัตร อำเภอสามเงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 พบว่า ในภาพรวมภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 5 ด้าน อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาและการส่งเสริมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของบุคลากร ด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ด้านความเป็นเลิศในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ด้านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล และด้านการมีวิสัยทัศน์เป็นผู้นำด้านดิจิทัล ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มยกกระบัตร อำเภอสามเงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 โดยแยกเป็นรายด้าน 5 ด้าน พบว่า 2.1) ด้านการมีวิสัยทัศน์เป็นผู้นำด้านดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เป็นต้นแบบที่ดี 2.2) ด้านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรวางแผนการดำเนินงาน เพิ่มศักยภาพและโอกาสการเรียนรู้ในรูปแบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ผ่านการใช้เทคโนโลยีของครูและผู้เรียน 2.3) ด้านความเป็นเลิศในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรกระตุ้นให้บุคลากรในสถานศึกษา เพิ่มพูนศักยภาพ พัฒนานวัตกรรมสูตรการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน 2.4) ด้านการพัฒนาและการส่งเสริมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของบุคลากร ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และ 2.5) ด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างความตระหนักให้ผู้เรียนได้เห็นถึงประโยชน์และโทษ ผลักดันให้มีการใช้กฎหมายและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีด้วยความรับผิดชอบ
Description
The purposes of this research were 1) to study academic leadership in the digital age of school administrators in the Yokkabat group, Samngao District, under the Tak Primary Educational Service Area Office 1. 2) to study the guidelines for developing academic leadership in the digital age of school administrators in the Yokkabat group, Samngao District, under the Tak Primary Educational Service Area Office 1. The sample group used in the study was school administrators. and teachers in educational institutions in Yokkrabat group, Samngao District, under the Tak Primary Educational Service Area Office 1. The group consisted of 126 people. The research tools were questionnaires and interview forms. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results of the research revealed that 1) Academic leadership in the digital age of school administrators in the Yokkabat group, Samngao District, under the Tak Primary Educational Service Area Office 1 found that in the overall academic leadership in the digital age of school administrators school administration in 5 areas at a high level in all 5 aspects. The aspect with the highest average was the development and promotion of technological advancement of personnel, Citizenship in the digital age, Excellence in the use of technology for learning, Creating a learning network in the digital age and digital leadership vision, respectively. 2) Academic Leadership Development Guidelines in the Digital Age of School Administrators in the Yokkabat Group, Samngao District, under the Tak Primary Educational Service Area Office 1, divided into 5 aspects, it was found that 2.1) digital leadership vision school administrators should develop themselves to keep pace with technological changes. 2.2) Building a learning network in the digital age. School administrators should plan their operations. Increase the potential and learning opportunities in the form of online learning through the use of technology for teachers and students. 2.3) Excellence in the use of technology for learning. School administrators should encourage personnel in educational institutions to increase potential Develop innovative learning management formulas 2.4) Personnel development and promotion of technological advancement. School administrators should promote and support the organization of motivational activities exchange and learn from each other, and 2.5) citizenship in the digital age school administrators should raise awareness for learners to see the benefits and harms. Encourage legal and ethical use of technology in responsible use.
Keywords
ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัล, Academic Leadership in the Digital Age
Citation