ไม้ดอกไม้ประดับในการจัดออกแบบสวนและภูมิทัศน์ในมหาวิทยาลัยพะเยา ปี พ.ศ. 2561-2562

Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบจำนวนการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับที่แตกต่างกันในปี 2561 และ 2562 2) เปรียบเทียบจำนวนและชนิดการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับในปี 2561 และ 2562 ในจุดที่มีการปรับแต่งภูมิทัศน์ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับชนิดพืช จำนวน วิธีการ และสถานที่ และเป็นการจัดระบบการจัดการไม้ดอก ไม้ประดับ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และเป็นระบบมากขึ้น พบว่า จำนวนการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับที่ใน ปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนการนำไม้ดอก ไม้ประดับไปใช้จัดสวนในมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 261,965 ต้น และปี พ.ศ. 2562 มีจำนวน 231,975 ต้น ซึ่ง ปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนการนำไม้ดอก ไม้ประดับไปใช้มากกว่า ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 29,990 ต้น จำนวนและชนิดการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับในปี 2561 และ 2562 ในจุดที่มีการปรับแต่งภูมิทัศน์ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยพะเยาทั้ง 4 จุด โดยจุดที่ 1 (บริเวณป้ายหน้ามอมหาวิทยาลัยพะเยาถึงลานสมเด็จพระนเรศวร) จุดที่ 2 (บริเวณวงเวียนหน้าถนนคณะวิศวกรรมศาสตร์ถึงหอประชุมพญางำเมือง) จุดที่ 3 (บริเวณหน้าตึกอธิการบดีถึงวงเวียนหน้าตึกอธิการบดี) และจุดที่ 4 (บริเวณพื้นที่ทั่วไปที่ใช้ไม้ดอก ไม้ประดับทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยพะเยา) จากการสำรวจพบว่า ในปี 2561 จุดที่ 4 (69 ชนิด) 2 (53 ชนิด) 3 (23 ชนิด) และ 1 (16 ชนิด) มีความหลากหลายของการใช้ชนิด ของต้นไม้ประดับสูงสุดและลดลงถึงต่ำสุด ตามลำดับ ส่วนจำนวนต้นไม้ พบว่า จุด 2 (139,873 ต้น) 4 (63,925 ต้น) 3 (32,382 ต้น) และ 1 (17,561 ต้น) มีการใช้ต้นไม้ประดับในจำนวนที่มากที่สุด และลดลงถึงน้อยที่สุด ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปี 2562 โดยชนิดของพันธุ์ไม้ที่ใช้เรียงจากมากไปน้อย คือ จุดที่ 4 (79 ชนิด) 2 (56 ชนิด) 3 (23 ชนิด) และ 1 (17 ชนิด) และปริมาณที่ใช้จุด 2 (125,839 ต้น) 4 (65,442 ต้น) 3 (23,133 ต้น) และ 1 (17,561 ต้น) ตามลำดับ ไม้ประดับที่มีจำนวนการใช้สูง ได้แก่ ชาฮกเกี้ยน (Carmona retusa (Vahl) Masam.) พิทูเนีย (Petunia Hybrida) ดาวกระจาย (Cosmos sulphureus Cav.) หูปลาช่อน (Acalypha wilkesiana Mull. Arg ) ถั่วบราซิล (Arachis pintoi) ดาวเรือง (Tagetes erecta L. ) สร้อยไก่ (Celosia argentea L. cv. Plumosa) ซัลเวียเลดี้ (Salvia spp.) ทานตะวัน (Helianthus annuus L.) และบานไม่รู้โรย (Gomphrena globosa L.) ข้อมูลของเราจะสามารถช่วยในการเตรียมการ และปรับปรุงระบบการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับในการตกแต่งภูมิทัศน์ และการลดค่าใช้จ่ายและเวลา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการคาดการณ์ในจำนวน และชนิดของพืชที่จะใช้ในปีถัดไป
Description
The objectives of this research are to (i) compare the number of different flowers plants, and (ii) compare the number and types of ornamental plants which used to apply in the garden and landscape of University of Phayao during 2018 and 2019 (ii) to classify the plant type, amount, method, place, and the ornamental flowers management system for economize and increase efficiency of working plan. It is found that the number of ornamental flowers has been used 261,965 and 231,975 plants in 2018 and 2019, respectively. The different amount of used plant is 29,990 plants. The number of plants cultivar and the amount of plant in 2018 and 2019 for landscape decoration can separate to four places. Point 1 (The front gate of University to King Naresuan monument), Point 2 (Roundabout of Faculty of Engineer to Ngam Meuang Auditorium), Point 3 (The front of President bureaus) and Point 4 (Common area for indoor and outdoor decoration). The results found that in 2018, high to low level of number of ornamental plant cultivar is in Point 4 (69), 2 (53 cultivars), 3 (23 cultivars) and 1 (16 cultivars). The amount of plant which use in high to low level is Point 2 (139,873 plants), 4 (63,925 plants), 3 (32,382 plants) and 1 (17,561 plants). The result of 2018 is like to 2019 Point 4 (79 plants), 2 (56 plants), 3 (23 plants) และ 1 (17 plants) for various plant cultivars and Point 2 (125,839 plants), 4 (65,442 plants), 3 (23,133 plants) and 1 (17,561 plants), for plant in used, respectively. High number of ornamental plants for landscape design are Philippine Tea (Carmona retusa (Vahl) Masam.) Petunia (Petunia Hybrida) Mexican Daisy (Cosmos sulphureus Cav.) Copper leaf (Acalypha wilkesiana Mull. Arg) Pinto peanut (Arachis pintoi) Marigold (Tagetes erecta L.) Cocks comb (Celosia argentea L. cv. Plumosa) Scarlet sage (Salvia spp.) Sunflower (Helianthus annuus L.) and Globe Amaranth (Gomphrena globose L.) Our data can help to prepare and adjust the ornamental plant system for landscape design and economize the budget and time which useful for prediction of the number and cultivar of plant in the further year.
Keywords
ไม้ดอกไม้ประดับ, การออกแบบสวน, งานสวนภูมิทัศน์
Citation
กัญญาณี บัวลอย และสุดารัตน์ จันทรเสนา. (2563). ไม้ดอกไม้ประดับในการจัดออกแบบสวนและภูมิทัศน์ในมหาวิทยาลัยพะเยา ปี พ.ศ. 2561-2562. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.