รูปแบบการพัฒนาการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร
Loading...
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้แบ่งเป็นสามระยะ การวิจัยระยะที่หนึ่งมุ่งสร้างเครื่องมือซึ่งเป็นแบบวัดที่มีคุณภาพสูง เพื่อวัดการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู และอีก 3 ตัวแปรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลังจากมีการตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นได้ใช้แบบวัดทั้ง 4 กับกลุ่มตัวอย่าง 40 คน สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) 350 คน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) 300 คน ได้มีการหาความตรงโดยวิเคราะห์องค์ประกอบและวิธีอื่น ๆ ผลได้พบว่า แบบวัดดังกล่าวมี 12 ถึง 15 ข้อความ มี 2 ถึง 3 องค์ประกอบมีร้อยละของการอธิบาย 52.38 ถึง 61.43 มีค่าความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฝ่า เท่ากับ 0.86 ถึง 0.93 และยังมีความตรงเชิงลู่เข้า การวิจัยระยะที่สอง มุ่งศึกษารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดตัวแปรที่เป็นมาตรประมาณรวมค่า จำนวน 11 แบบวัด ที่มีค่าจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.265 ถึง 0.828 ค่าความเที่ยงตั้งแต่ 0.687 ถึง 0.942 สถิติที่ใช้เพื่อตรวจสอบสมมติฐานประกอบด้วย Stepwise Multiple Regression Analysis, Structural equation modeling: SEM การวิจัยพบว่า กลุ่มตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุ 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มสามารถทำนายการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครูได้มากกว่าร้อยละ 30 โมเดลปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมการทำงานอย่างอุทิศตนได้รับการยืนยันจากข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับการวิจัยระยะที่สาม เป็นการวิจัยเชิงทดลองมุ่งศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ข้าราชการครูที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู และแบบวัดตัวแปร 4 แบบวัดที่เกี่ยวกับผลการพัฒนาฯ สถิติที่ใช้เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย T-test independent และ ANOVA with repeated measures การวิจัยพบว่า ครูที่ได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุการทำงานอย่างอุทิศตนมีพัฒนาการจิตลักษณะที่ฝึก และแนวโน้มการเกิดพฤติกรรมการทำงานอย่างอุทิศตนของครู สูงกว่าครูที่ไม่ได้รับการฝึก และพบว่า เมื่อวัดติดตาม 2 สัปดาห์หลังฝึกผลดังกล่าวยังคงอยู่
Description
This research is divided into three phases. First phase research, Focus on creating high quality tools to measure the dedication of teachers and 3 related variables in development after initial quality checks. The validity has been determined by analyzing the composition and other methods. The results show that the device has 12 to 15 texts with 2 to 3 components with the percentage of explanations 52.38 to 61.43. The reliability was by the coefficients alpha of 0.86 to 0.93 and still have linear convergence. The second phase research, aims to examine the casual factors model of teachers’ dedicative work behavior under Bangkok Metropolitan Administration. Samples for casual factors model of teachers’ dedicative work behavior studied were 400 school teachers under Bangkok Metropolitan Administration, selected by stratified random sampling. The instruments of this research were 11 sets of summated rating scale with r item total correlations from 0.265 to 0.828 and coefficient alpha reliabilities from 0.687 to 0.942. The statistics for hypothesis testing were Stepwise Multiple Regression Analysis, Structural equation modeling: SEM. Research results were: First, each of the 3 causal factors groups could predicted the teachers’ dedicated work behavior more than 30 %, and model of teachers’ dedicated work behavior were confirmed with empirical data. The Last phase research, to study the effectiveness of causal factors teachers’ dedicated work program. Samples for dedicated work program effectiveness studied 87 voluntary school teachers under Bangkok Metropolitan Administration. The statistics for hypothesis testing were t-test independent, and ANOVA with repeated measures. Research results were: Second, teachers who had been trained by causal factors dedicated work programs showed higher scores of trained characteristics and dedicated work behaviors tendency than teachers who had not been trained, 2 weeks after training those results still remained
Keywords
การสร้างเครื่องมือ, ปัจจัยเชิงสาเหตุ, โปรแกรมการพัฒนา, การทำงานอย่างอุทิศตน, Measure development, Causal factors, Training program, Teacher dedicate work behavior
Citation
พิพัฒน์ ศรไพบูลย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).