ประสิทธิผลของโปรแกรมชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
dc.contributor.author | คุณากร นาต๊ะ | |
dc.date.accessioned | 2024-03-27T08:41:56Z | |
dc.date.available | 2024-03-27T08:41:56Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.description | This study aims to study the effectiveness of the program to slow kidney degenerative in diabetic and hypertension patients. Quasi experimental research was used in this study. A randomized pretest posttest control group design was used to measure the Glomerular filtration rate and the severity of the disease. The population studied included patients with hypertension and diabetes with chronic renal failure stage 1-5 at Jareanrad Sub-district, Maejai District, Phayao Province. Set the sample size from the calculation by program G-power 3.1.9.2 (Effect Size = 0.8 effect size for α = 0.05 and power Analysis = 0.90) the sample size was 68 people, divided into 1 experimental group and 1 comparable group. Each group was selected by voluntary criteria. Researchers have developed a program to slow kidney degeneration by applying the Vichai’s 7-color balls model to create disease awareness. Promote proper dietary intake and reduce food intake. And self-alert by self-monitoring techniques. The study in the experimental group, 73.5% had constant kidney failure. There were 17.6% of patients with decreased renal impairment. In the comparison group, 91.1% had stable kidney levels. 5.9% had increased kidney function. It was also found that in the experimental group receiving the program, the mean conversion rate was lower than that before receiving the program. Patients with more than 70% (more than or equal to 5 days per week) co-morbidities had a mean change in significant P < 0.05 It can be seen that the program to slowed kidney degeneration, it can help to slow the decline of kidney from chronic renal failure to patients with diabetes and hypertension. In particular, patients with first to third stage of renal disease and taken program more than 70% (more than or equal to 5 days per week). | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งใช้วิธีการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) โดยทำการศึกษาในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Randomized pretest-posttest control group design) โดยวัดผลจากค่าการเปลี่ยนแปลงอัตราการกรองของไตและระดับความรุนแรงของโรค ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานและมีภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 1-5 ที่อาศัยอยู่ในตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป G-power 3.1.9.2 (Effect Size = 0.8 effect size for α = 0.05 and power Analysis = 0.90) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 68 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 หมู่บ้าน และกลุ่มเปรียบเทียบ 1 หมู่บ้าน กลุ่มละ 34 คน คัดเลือกตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด โดยความสมัครใจ ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมชะลอไตเสื่อมขึ้น โดยการประยุกต์ใช้โมเดลปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ในการแบ่งสีตามระดับความรุนแรงของโรคไตเพื่อสร้างการรับรู้โรค พัฒนาทักษะส่วนบุคคลโดยส่งเสริมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับโรค และลดเครื่องปรุงในอาหาร และกระตุ้นพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยเทคนิคการเตือนตนเอง จากการศึกษาหลังได้รับโปรแกรมชะลอไตเสื่อม พบว่า ในกลุ่มทดลองร้อยละ 73.5 มีระดับความรุนแรงของโรคไตคงที่ และมีผู้ป่วยร้อยละ 17.6 มีระดับความรุนแรงของโรคไตลดลง ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบมีระดับความรุนแรงของไตเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 5.9 โดยไม่พบว่ามีผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรง ของโรคไตที่ลดลงเลย นอกจากนี้ยังพบว่า ในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงอัตราการกรองของไตน้อยกว่าช่วงก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05 โดยกลุ่มที่ให้ความร่วมมือมากกว่าร้อยละ 70 (มากกว่าหรือเท่ากับ 5 วันต่อสัปดาห์) มีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05 ซึ่งแสดงว่ากลุ่มตัวอย่างมีอัตราการกรองของไตที่ดีขึ้น จะเห็นได้ว่าโปรแกรมชะลอไตเสื่อม สามารถช่วยชะลอการเสื่อมของไตจากภาวะไตวายเรื้อรังให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคไตในระยะที่ 1-3 (กลุ่มสีเขียว สีเหลือง และสีส้ม) และสามารถปฏิบัติตามโปรแกรมได้มากกว่าร้อยละ 70 (มากกว่าหรือเท่ากับ 5 วันต่อสัปดาห์) | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/363 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | โปรแกรมชะลอไตเสื่อม | |
dc.subject | โรคไตวายเรื้อรัง | |
dc.subject | ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง | |
dc.subject | Program to slow kidney degeneration | |
dc.subject | Chronic kidney disease diabetes mellitus | |
dc.subject | Hypertension patients | |
dc.title | ประสิทธิผลของโปรแกรมชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา | |
dc.title.alternative | Effectiveness Of Program to Slow Kidney Degeneration for Diabetes Mellitus And Hypertension Patients at Jareanrad Sub-district, Meajai District, Phayao Province | |
dc.type | Thesis |