ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จังหวัดพะเยา

No Thumbnail Available
Date
2021
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยแบบผสมผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จังหวัดพะเยา โดยการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 347 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง คือ สถิติทดสอบไค-สแควร์ และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน นักเรียน จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาเชิงปริมาณด้านปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.7 รายได้ต่ำกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 65.4 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 87.3 ปัจจัยด้านครอบครัว พบว่า ส่วนใหญ่บิดา-มารดาของนักเรียนอยู่ร่วมกัน ร้อยละ 63.1 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 42.9 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 47.0 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 45.8 ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองมีความรักใคร่กลมเกลียวกัน ร้อยละ 92.2 ปัจจัยด้านการเรียน ส่วนใหญ่อยู่แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ร้อยละ 55.0 มีผลการเรียนอยู่ระหว่าง 3.00-3.49 ร้อยละ 37.5 ไม่มีการเรียนพิเศษหรือกวดวิชา ร้อยละ 83.3 และมีแผนการศึกษาต่ออุดมศึกษา ร้อยละ 79.0 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านภูมิทัศน์ ด้านอาคารสถานที่ ด้านการเรียนการสอน ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน ด้านสัมพันธภาพกับครู อยู่ในระดับปานกลาง ระดับความเครียดส่วนใหญ่ อยู่ในระดับเครียดมาก ร้อยละ 47.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ได้แก่ เพศ โรคประจำตัว แผนการเรียนที่กำลังศึกษามีแผนการศึกษาต่ออุดมศึกษา สัมพันธภาพกับเพื่อน สิ่งแวดล้อมด้านการเรียนการสอน และด้านภูมิทัศน์ ส่วนผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้บริหารมีมุมมองว่าโรงเรียนพยายามพัฒนาระบบการศึกษาให้มีผลสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรแต่ยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ส่วนมุมมองของนักเรียนเสนอว่ายังมีความเครียดด้านการเตรียมความพร้อมการศึกษาต่อ และยังกังวลด้านเศรษฐกิจ
Description
This mixed methods research that composed of quantitative and qualitative study aimed to explored factors related to stress of Matthayomsuksa VI students in Phayao Province. On quantitative study; data were collected by using questionnaire from 374 Matthayomsuksa VI students and analyzed by using descriptive statistics (frequencies, percentage, mean and standard deviation) and inferential statistics (Chi-square test and Pearson product moment correlation). On qualitative study; Data were collected by using in-depth interview from key informant those composed of 6 school managers and 12 students. Data were analyzed by using content analysis. The result of quantitative study revealed personal factors that mostly of subjects were female (67.7%), income lower than 1,000 baht (65.4%), no congenital disease (87.3%). The family factors; mostly of parents lived together (63.1%), finished primary school (42.9%), farming (47.0%) average monthly income 5,000-10,000 baht (45.8%) and good relationship (92.2%). The learning achievement factors; mostly of subject study in Science-Mathematic program (55.0%). cumulative GPA 3.00-3.49 (37.5%), no tutorial (83.3%) and plan to study in higher education (79.0%). The level of environment factors scored both entire and separated path (landscape, building, learning context, relationship with friend and relationship with teacher) were in the middle level. The stress level of mostly students was in high level (47.6%). The factors related to stress of students were sex, congenital disease, learning program, plan to study in higher education, relationship with friend, learning context and landscape. The result of qualitative study revealed vision of school manager that in spite of many limitations, the policy still focus on learning context development and student centered education. In the comment of student revealed that they get stress from plan of study in higher education and economic factor.
Keywords
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6, ความเครียด, ปัจจัยด้านศึกษา, ปัจจัยสิ่งแวดล้อม, Matthayomsuksa VI students, Stress, Education factor, Environmental factors
Citation