ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorสุทธิพงษ์ นามเกิด
dc.date.accessioned2024-09-26T09:26:22Z
dc.date.available2024-09-26T09:26:22Z
dc.date.issued2019
dc.descriptionThe purposes of this research were to specify the factors affecting the learning achievement in a Thai Language, and to specify the relationship between school factors, family factors and learner factors and the learning achievement in a Thai Language of Grade 5 students under the Suan Luang District Office, Bangkok. The sample consisted of 227 Grade 5 students in academic year 2018. The instrument used in the research was a five-rating scale questionnaire with validity between 0.67-1.00 and reliability (Cronbach Alpha Coefficient) 0.94. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results showed that school factors, family factors and learner factors were at a high level, and there was a relationship between each of the factors and the learning achievement in a Thai Language, related to all factors with a correlation coefficient between 0.139 and 0.236, and considered to have a low relationship. Family factors and learner factors were correlated with the learning achievement in a Thai Language with statistical significance at the level of 0.01 and school factors were correlated with the learning achievement in a Thai Language with statistical significance at the level of 0.05
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อระบุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และเพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านโรงเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านผู้เรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 227 คน โดยทำการเทียบสัดส่วนขนาดกลุ่มตัวอย่างของแต่ละโรงเรียน แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach) มีค่าเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย คือ ปัจจัยด้านโรงเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านผู้เรียน อยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแต่ละด้านกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.139 ถึง 0.236 ถือว่ามีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านผู้เรียน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยด้านโรงเรียน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationสุทธิพงษ์ นามเกิด. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collection: UPDC).
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/810
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectปัจจัย
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย
dc.subjectนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
dc.subjectFactors
dc.subjectThe Thai language achievement
dc.subjectGrade 5 students
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeFactors Affecting the Thai Language Achievement of Grade 5 Students under Suan Luang District Office, Bangkok
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Suttipong Namkoed.pdf
Size:
1.18 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: