การวัดสัณฐานแบบมาตรฐานและเรขาคณิตของปีกผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) และผึ้งโพรง (Apis cerana) ในประเทศไทย

dc.contributor.authorฐนิต เป็งสุธรรม
dc.contributor.authorปภาวรินทร์ วงศ์ปา
dc.date.accessioned2024-11-27T09:05:14Z
dc.date.available2024-11-27T09:05:14Z
dc.date.issued2018
dc.descriptionApis mellifera and Apis cerana are widely maintained in hive for apiculture in Thailand. This study examines wing variability using 16 characters measurement for standard morphometric and 1 8 landmarks for geometric morphometric. The study purposes identifying the species, subspecies and population of both bees. Specimens of A. mellifera were 56 colonies, 560 wing samples (n=56, s=560), A. c. cerana (n=29, s=185) from Fuzhou (n= 20, s=97) and Guangzhou (n= 9, s=88). Also, A. c. indica specimens were n=56, s=516, those divided from North population (n=20, s=172) and South population (n=36, s=344). The results of standard morphometric showed significant differences (p≤0.05) in all characters, except for measurements of hamuli (HA and HAL). And discriminant analysis of species level showed percentage of cross-validation for 100% as same as geometric method. Identification of A. mellifera, using standard morphometric showed cross-validation percentages for 43.9% while it was fower than geometric, was for 56.3%. Moreover, cubital index (CI), FWL, HWL, FWW, HWW, FWW/FWL and HWW/HWL were identified A. mellifera into three subspecies such as A. m. syriaca, A. m. ligustica and A. m. carnica. In part of A. cerana discriminant analysis indicated cross-validation percentage of A. c. cerana and A. c. indica subspecies were 96.4% form standard method and 84.7% form geometric method. Focus on A. c. indica of Thailand were divided North and South populations at Isthmus of Kra region, they showed cross-validation percentages for 77.5% and 77.7%. In addition to the South population of A. c. Indica colonies were collected different three times were showed correctly percentage to colony classification for 20.5% and 56.3% from difference methods. These results conclude that standard and geometric methods help precisely identifying species and subspecies of both honeybees. In addition, both methods can be applied to examine variation of hybrid populations of A. c. indica North and South population.
dc.description.abstractผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) และผึ้งโพรง (Apis cerana) เป็นผึ้งที่นิยมนำมาใส่กล่องเพื่อการเลี้ยงผึ้งในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ทำการตรวจสอบความผันแปรของปีกโดยใช้การวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน 16 ลักษณะ และการวัดสัณฐานทางเรขาคณิตจากการกำหนดจุดบ่งชี้ 18 ตำแหน่ง วัตถุประสงค์เพื่อการระบุชนิด ชนิดย่อย และประชากรของผึ้งเหล่านี้ โดยใช้ตัวอย่างผึ้งพันธุ์ จำนวน 56 รัง 560 ตัวอย่าง (n=56, s=560) และผึ้งโพรงจีน (A. c. cerana) n=29, s=185 จากเมืองฝูโจว n= 20, s=97 และเมืองกว่างโจว n= 9, s=88 และผึ้งโพรงไทย (A. c. indica) n=56, s=516 ซึ่งตัวอย่างประชากรทางเหนือ n=20, s=172 และทางภาคใต้ n=36, s=344 ผลการวัดสัณฐานแบบมาตรฐานแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยลักษณะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ยกเว้นค่าการวัดของตะขอเกี่ยวปีก (HA และ HAL) และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มของผึ้งในระดับชนิดได้ถูกต้องร้อยละ 100.00 เช่นเดียวกับการวัดสัณฐานทางเรขาคณิต การระบุชนิดย่อยของผึ้งพันธุ์แสดงค่าร้อยละการจำแนกกลุ่มจากค่าการวัดสัณฐานแบบมาตรฐานเท่ากับ 43.9 ซึ่งมีค่าร้อยละของการจำแนกกลุ่มสูงกว่าผลจากการวัดสัณฐานทางเรขาคณิตที่มีค่าร้อยละ 56.3 มากกว่านี้ค่าดัชนีคูบิทอล (CI) ความยาว (FWL, HWL) ความกว้าง (FWW, HWW) ของปีกหน้าและปีกหลังใช้ในการจำแนกชนิดย่อยผึ้งพันธุ์ 3 ชนิดย่อย ได้แก่ A. m. syriaca A. m. ligustica และ A. m. syriaca ส่วนผลการจำแนกกลุ่มจากค่าการวัดสัณฐานทั้งสองวิธีในผึ้งโพรง แสดงให้เห็นถึงการระบุชนิดย่อยของผึ้งโพรงจีนและผึ้งโพรงไทยได้ถูกต้องร้อยละ 96.4 และ 84.7 มุ่งเน้นไปที่การจำแนกกลุ่มของผึ้งโพรงไทยประชากรเหนือและใต้ ซึ่งแยกกันที่บริเวณคอคอดกระ แสดงค่าความถูกต้องไว้ที่ร้อยละ 77.5 และ 77.7 จากวิธีที่ต่างกัน นอกจากนี้การจำแนกกลุ่มของรังของผึ้งโพรงใต้ที่เก็บตัวอย่างซ้ำ 3 ครั้ง มีค่าความถูกต้องร้อยละ 20.5 และ 56.3 ตามลำดับ การศึกษานี้สรุปได้ว่า วิธีการวัดสัณฐานแบบมาตรฐานบนปีกทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพในการระบุความผันแปรของผึ้งรวงในระดับชนิด และชนิดย่อยได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ทั้งสองวิธีสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบรูปแบบความแปรผันของประชากรลูกผสมของ A. c. indica กลุ่มประชากรเหนือและใต้ได้
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.citationฐนิต เป็งสุธรรม และปภาวรินทร์ วงศ์ปา. (2561). การวัดสัณฐานแบบมาตรฐานและเรขาคณิตของปีกผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) และผึ้งโพรง (Apis cerana) ในประเทศไทย. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/1033
dc.language.isoother
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectผึ้งพันธุ์
dc.subjectผึ้งโพรง
dc.subjectการระบุชนิด
dc.subjectการวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน
dc.subjectการวัดสัณฐานทางเรขาคณิต
dc.subjectApis mellifera
dc.subjectApis cerana
dc.subjectIdentification
dc.subjectStandard morphometric
dc.subjectGeometric morphometric
dc.titleการวัดสัณฐานแบบมาตรฐานและเรขาคณิตของปีกผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) และผึ้งโพรง (Apis cerana) ในประเทศไทย
dc.title.alternativeStandard and Geometric Morphometric of Apis Mellifera and Apis Cerana Wing in Thailand
dc.typeOther
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
ติดต่อ งานส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศดิจ.pdf
Size:
46.82 KB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: