ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร
dc.contributor.author | พงษ์พันธ์ ปัญญางาม | |
dc.date.accessioned | 2024-03-26T08:04:10Z | |
dc.date.available | 2024-03-26T08:04:10Z | |
dc.date.issued | 2021 | |
dc.description | The research were aimed at 1) to study the working motivation of teachers in terms of motivation factors and hygiene factors in Phrapariyattidham schools, Department of General Education Group 1, Bangkok 2) to study the behaviors as good citizen of students in Phrapariyattidham schools, Department of General Education Group 1, Bangkok 3) to study the relationship between working motivation of teachers in terms of motivation factors and hygiene factors and the behaviors as good citizen of students and 4) to study the variables of working motivation of teachers that could predict the behaviors as good citizen of students in Phrapariyattidham schools, Department of General Education Group 1, Bangkok. The samples were 123 teachers in Phrapariyattidham schools, Department of General Education Group 1, Bangkok. The instrument used in this research was a 5-level rating scale questionnaire with the validity was 0.67-1 and the reliability was 0.96. The data were analyzed through frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's correlation coefficient and multiple regression analysis. The research results were as follows; 1) The working motivation of teachers, both motivation factors and hygiene factors were at high level. The highest mean of the motivation factors was the working achievement while the lowest mean was the job characteristics. The highest mean of the hygiene factors was the relationship with the supervisor while the lowest mean was the salary and welfare 2) The behaviors as good citizen of students were at high level. The highest mean was honesty followed by learning anxiousness, discipline, public mindedness and working earnestness accordingly. 3) The relationship between working motivation of teachers and the behaviors as good citizen of students in motivation factors was positive at low level(r = 0.054) and the hygiene factor was also positive at middle level (r = 0.317) with the statistical significance at the 0.01 level. 4) The variables of the working motivation of teachers that could predict the behaviors as good citizen of students were security of the job, salary and welfare, recognition, and the relationship with the supervisor at 43% with the statistical significance at the 0.01 level. | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของครูกับพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียน และ 4) เพื่อศึกษาตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ เกิดขึ้นจากปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนของครูที่สามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ หาคุณภาพเครื่องมือโดยการหาค่า Content Validity ได้ค่าระหว่าง 0.67-1 และค่าความเชื่อมั่น Reliability ทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในภาพรวมทั้งปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเฉพาะปัจจัยจูงใจ พบว่า ความสำเร็จในการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และลักษณะงานที่ปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนปัจจัยค้ำจุนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ เงินเดือนและสวัสดิการ 2) พฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความซื่อสัตย์สุจริตมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย มีจิตสาธารณะ และมุ่งมั่นในการทำงาน ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานของครูกับพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียน ด้านปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.054) และด้านปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ที่ ระดับปานกลาง (r = 0.317) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 4) ตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่สามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียน ได้แก่ ความมั่นคงในการทำงาน เงินเดือนและสวัสดิกร การยอมรับนับถือ และความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ที่ 43% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/349 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน | |
dc.subject | ปัจจัยจูงใจ | |
dc.subject | ปัจจัยค้ำจุน | |
dc.subject | พฤติกรรมการเป็นคนดี | |
dc.subject | Working Motivation of Teachers | |
dc.subject | Motivation Factors | |
dc.subject | Hygiene Factors | |
dc.subject | Behaviors as Good Citizen of Students | |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร | |
dc.title.alternative | Relationship Between Working Motivation of Teachers and Behaviors as Good Citizen of Students in Phrapariyattidham School, Department of General Education Group 1 Bangkok | |
dc.type | Thesis |