การสำรวจพืชอาหารนกยูงในพื้นที่ป่าอนุรักษ์นกยูงไทย มหาวิทยาลัยพะเยา
Loading...
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาพืชที่เป็นอาหารของนกยูงไทยในป่าเขตหลังมหาวิทยาลัยพะเยา เทียบกับวนอุทยานร่องคำหลวง และพื้นที่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมของพื้นที่ป่าหลังมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งติดกับเขตวนอุทยานร่องคำหลวง ในการรองรับการอพยพของนกยูงในธรรมชาติสู่ผืนป่ามหาวิทยาลัยพะเยา เตรียมพื้นที่การอนุบาลเพาะเลี้ยงนกยูงไทย และการศึกษาทางธรรมชาติวิทยา และพันธุกรรม บนพื้นฐานความยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ โดยทำการสำรวจพันธุ์พืชอาหารนกยูงวัดความหนาแน่นของพรรณไม้ชนิดหลัก สำรวจตำแหน่งของแหล่งน้ำ และจุดสร้างแหล่งพักพิงธรรมชาติ ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่ป่าอนุรักษ์นกยูงไทยหลังมหาวิทยาลัยพะเยา มีพื้นที่ขนาด 600,000 ตารางเมตร และมีพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้ป่าคุกคามตั้งแต่เดือน มกราคม -เมษายน 2563 จำนวน 71.66 % ของพื้นที่ทั้งหมด และจัดระดับความรุนแรงอยู่ในเกณฑ์วิกฤต บนพื้นฐานความหนาแน่นของต้นไม้ใหญ่กล้าไม้ และลูกไม้ ตลอดเส้นทางสำรวจ พบแหล่งน้ำ 6 แหล่ง (จุดที่ 1 19°01'38.9''N 99°52'49.5''E, จุดที่ 2 19°01'38.2''N 99°52'50.0''E, จุดที่ 3 19°01'38.2''N 99°52'50.6''E, จุดที่ 4 19°01'36.4''N 99°52'56.9''E, จุดที่ 5 19°01'36.6''N 99°52'59.4''E และจุดที่ 6 19°01'34.1''N 99°52'03.3''E ) อีกทั้งพบบริเวณที่เป็นกอไผ่ขึ้นหนาแน่นที่เหมาะสำหรับพักพิงและหลบซ่อน 2 แหล่ง ( 19°01'43.4"N 99°52'46.2"E และ 19°01'41.4"N 99°52'45.8"E) สำหรับพื้นที่เพื่อการปลูกพืชอาหารทดแทนจะอยู่ระหว่างแหล่งน้ำจุด 4 (19°01'36.4''N 99°52'56.9''E) และจุด 6 (19°01'34.1''N 99°52'03.3''E) เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และเป็นพื้นที่ปลอดไฟป่า การสำรวจพืชอาหารนกยูง พบว่า ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์นกยูงมหาวิทยาลัยพะเยา พบพืชอาหารจำนวน 2 ชนิดที่สอดคล้องกับพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ได้แก่ ขี้ไก่ย่าน (Mikania cordata), กก (ยังไม่ได้จัดจำแนก) และพบพืชอาหารที่สอดคล้องกับพื้นที่วนอุทยานร่องคำหลวง จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ถั่ว (ยังไม่ได้จัดจำแนก), ไผ่ (ยังไม่ได้จัดจำแนก), สัก (Tectona grandis L.f.), มะเดื่อ (Ficus racemosa L.) และกล้วยป่า (Musa acuminata) พบพืชเหล่านี้จัดเป็นพืชสมุนไพร จำนวน 4 ชนิด และมีรายงานการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อรักษาอาการของโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร (ผลกล้วย), ระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ (ใบสัก) (รากมะเดื่อ) (ผลกล้วย), ระบบขับถ่าย (ผลสุกมะเดื่อ) และโรคผิวหนัง (ใบขี้ไก่ย่าน) (เปลือกสัก) (เปลือกมะเดื่อ) สำหรับพืชอาหารนกยูงในธรรมชาติที่ไม่พบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์นกยูงไทย มหาวิทยาลัยพะเยา มีจำนวน 12 ชนิด ได้แก่ ใต้ใบ (Phyllanthus spp.), มะเม่า (Antidesma thwaitesianum), ปอ (ยังไม่ได้จัดจำแนก), คา (Imperata cylindrica), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica), เมล็ดหญ้าป่า (ยังไม่ได้จัดจำแนก), กระถิน (Leucaena leucocephala), ไทร (Ficus benjamina), หนามพุงดอ (Azima sarmentosa), มะขาม (Tamarindus indica), พุทราป่า (Ziziphus spp.) และตะขบป่า (Flacourtia indica) ทั้งนี้ การแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารของสัตว์ป่า เราสามารถสร้างแหล่งอาหาร และแหล่งพักพิงเป็นการช่วยเหลือ แทนที่จะให้อาหารสัตว์ป่าโดยตรง การทำแนวกันชน (buffer zone) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อปกป้องสัตว์ป่าไม่ให้ได้รับผลกระทบโดยกิจกรรมของมนุษย์
Description
This study aims to evaluate the plant diet habits of green peafowl in the forest area behind University of Phayao (UP). All plant species data was compared to Rong Kom Laung Forest Park (RKL) and Wiang Lor Wildlife Sanctuary (WL). This is to prepare the forest area which is connect to Rong Kham Luang Forest Park to support the migration of wild green peafowl to the forest of UP and prepare the green peafowl nursery area for natural science and genetics research based on sustainability of natural resources and creative development. We have been surveyed the green peafowl plant diet habit, measure the density of the main plant species, surveying the location of water source and the area for natural shelter. From the result, green peafowl conservation forest area of UP is 600,000 square meters and about 71. 66 % of its area was fire zone that threatened forest fires from January - April 2020. This is identified to critical level of forest status based on density of tree, pole and seedling. Along the exploration route, 6 water sources are found (Pin point No.1 19 ° 01'38.9''N 99 ° 52'49.5''E, Pin point No.2 19 ° 01'38.2''N 99 ° 52'50.0''E, Pin point No.3 19 ° 01'38.2 '' N 99 ° 52'50.6''E, Pin point No.4 19 ° 01'36.4''N 99 ° 52'56.9''E, Pin point No.5 19 ° 01'36.6''N 99 ° 52'59.4''E and Pin point No.6 19 ° 01’34.1’’N 99 ° 52'03.3''E). We also found a dense bamboo grove suitable for shelter and hiding in 2 Pinpoints (19 ° 01'43.4 " N 99 ° 52'46.2" E and 19 ° 01'41.4 " N 99 ° 52'45.8 "E). The area of vegetation plan will be between the water source point 4 (19 ° 01'36. 4''N 99 ° 52'56. 9''E) and point 6 (19 ° 01'34. 1 '' N 99 ° 52'03.3''E). The plantation was located nearby water sources, food sources and forest fire-free areas. It was found that two plant species which found in green peafowl conservation area of UP and WL are Khi kai yan (Mikania cordata), reed (non-classified). Moreover, it was consorted to the area RKL which consisting of five species such as nuts (non- classified), bamboo (non-classified), Teak (Tectona grandis Lf), fig (Ficus racemosa L.) and wild bananas (Musa acuminata). These plants are classified as four types of herbs and they have been reported to treat the symptoms of gastrointestinal (banana fruit), circulatory and cardiovascular (teak leaf) (fig root) (banana fruit), excretory (fig fruit) and skin diseases (Khi kai yan leaf) (Teak bark) (fig bark). There are twelve plant diets of green peafowl which have been reported in RKL and WL areas Egg woman ( Phyllanthus spp. ) , Mamao ( Antidesma thwaitesianum), Jute (non-classified), Blady grass (Imperata cylindrical), Dew plant (Drosera indica) , Wild grass seed ( non- classified) , White Popinac ( Leucaena leucocephala) , banyan (Ficus benjamina), Nam Pung Doa (Azima sarmentosa), tamarind (Tamarindus indica), Wild jujube (Ziziphus spp.) and Ramontchi (Flacourtia indica). To solve the food shortage problem of wildlife, we can create food sources and shelter as help instead of directly feeding wildlife. Buffer zone is an alternative way to protect wildlife from being affected by human activities and directly feed of the wildlife.
Keywords
ความหนาแน่นของพันธุ์ไม้, ป่าเต็งรัง, พื้นที่หาอาหาร, feeding area, Dipterocarp Forest, Pavo muticus
Citation
ปณัยกร ธีรธรรมปัญญา. (2563). การสำรวจพืชอาหารนกยูงในพื้นที่ป่าอนุรักษ์นกยูงไทย มหาวิทยาลัยพะเยา. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.