คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
Loading...
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 298 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยคุณค่าในตนเอง และปัจจัยสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคส์สแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านร่างกาย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 60.1 ด้านจิตใจ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 54.5 ด้านสังคม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 52.8 และด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 60.8 ระดับคุณภาพชีวิตภาพรวม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 69.7 และพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ (p = 0.006) เพศ (p = 0.018) สถานภาพสมรส (p = 0.001) โรคประจำตัว (p = 0.037) ระดับการศึกษา (p < 0.001) การอ่าน (p < 0.001) การเขียน (p < 0.001) อาชีพ (p < 0.001) ความเพียงพอของรายได้ (p = 0.001) การดื่มสุรา (p < 0.001) การออกกำลังกาย (p = 0.001) สถานบริการสุขภาพ (p = 0.017) การปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน (p = 0.001) สมรรถภาพสมอง (p < 0.001) การเป็นสมาชิกกลุ่มชุมชน (p < 0.001) และการได้รับเบี้ยยังชีพ (p < 0.001)
Description
This survey research was aimed to study the level of elderly quality of life and related factors related to the quality of life of the elderly in Nong Lom Sub-district Dok Khamtai District, Phayao Province. The 298 samples were selected by Multi stage random sampling. Data were collected by interviewed questionnaires including personal data, self esteem, social support and quality of life. and analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square and Pearson moment product. The result found that majority of elderly quality of life in physical activity (60.1%), mental health (54.5% ), social factor (52.8% ), environmental factor (60.8% ) and the overall quality of life (69.7% ) was in medium level. The factors associated with overall quality of life with a statistically significant at 0.05 level were age (p = 0.006), sex (p = 0.018), family status (p = 0.001) congenital disease (p = 0.037), education (p < 0.001), reading (p < 0.001), writing (p < 0.001), occupation (p < 0.001), income (p = 0.001), alcohol drinking (p < 0.001), exercise (p = 0.001), health service (p = 0.017), activity daily living (p = 0.001), mental state examination (p < 0.001) community participation (p < 0.001) and Allowance (p < 0.001)
Keywords
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, Qualities of life, The Elderiy