การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Loading...
Thumbnail Image
Date
2021
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยจำแนกตาม อายุ ประสบการณ์การทำงาน และวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 185 คน ซึ่งได้มาโดยการใช้สูตรของยามาเน่ จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติทดสอบ กระบวนการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จันจังหวัดเชียงราย จำแนกตามอายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และวุฒิการศึกษา ในภาพรวมพบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05
Description
The objectives of this independent study were 1) to study innovative leadership of school administrators of educational opportunity extended school in Mae Chan District, Chiang Rai Province, and 2) to compare the innovative leadership of school administrators of educational opportunity extended school in Mae Chan District, Chiang Rai Province, classified by age, work experience, and educational level. The sample of this study was 185 school administrators, teachers and educational personnel, obtained by using Yamane's formula, then simple sampling by drawing lots. Five-rating scale questionnaire was used as a research instrument. Content validity of the test as shown by the IOC index ranged from 0.67 to 1.00 and a reliability rating of 0.91. Data were analyzed using statistics, including frequency, mean, percentage, standard deviation, One-way ANOVA and a pairwise comparison through the Scheffe's method. The results of this study indicated as follows: 1) Overall innovative leadership of school administrators of educational opportunity extended school in Mae Chan District, Chiang Rai Province was at a high level. 2) The respondents with different age, work experience, and educational level had indifferent l innovative leadership with a statistical significance level of 0.05.
Keywords
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, Innovative Leadership
Citation