การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารเสริมอาหารจากธรรมชาติเพื่อเพิ่มสมรรถภาพ การผลิตไก่แม่พันธุ์และลูกไก่พื้นเมืองไทย

dc.contributor.authorสาธิต อนุปิม
dc.date.accessioned2024-05-07T08:25:55Z
dc.date.available2024-05-07T08:25:55Z
dc.date.issued2023
dc.descriptionThai Indigenous chicken is animal economics. This study aimed to development products to improve performance of Thai Indigenous chicken (praduhangdum). The case study 2 experimental compounds: Experimental 1 development and this study to examine the effect of feed additive on performance of Thai Indigenous chicken hens. A total of 400 indigenous chicken hens (praduhangdum) were randomized to 4 treatments, each treatment with 4 replicates of 25 chicks each. The experimental diets consisted of 4 treatments, control group, diet supplemented with P. mirifica 0.01% with S. Cerevisiae 0.2% and 0.5% of banana, diet supplemented with P. mirifica 0.02% with S. Cerevisiae 0.2% and 0.5% of banana and diet supplemented with P. mirifica 0.03% with S. Cerevisiae 0.2% and 0.5% of banana. Thai native hens were given access to feed and water was provided twice a day (7 am and 3 pm). The results showed that diets supplemented with 100 g of P. mirifica with S. Cerevisiae 0.2% and 0.5% of banana resulting in the egg production (%), hatchability (%), Fertility (%), egg mass and Feed conversion ratio of egg which is higher than control group (P<0.05). And feed intake (FI) less than control group (P<0.05). Therefore, the diets supplemented with 0.01% of P. mirifica with S. Cerevisiae 0.2% and 0.5% of banana resulted in improved performance. Experimental 2 The effect of feed additive on performance of Thai native (praduhangdum). A total of 1,200 birds were randomized to 4 treatments, each treatment with 4 replicates of 75 chicks each. The experimental diets consisted of 4 treatments, control group, diet supplemented with T. triandra 0.02% with S. Cerevisiae 0.2% and 0.5% of banana, diet supplemented with C. asiatica 0.02% with S. Cerevisiae 0.2% and 0.5% of banana and diet supplemented with P. amaryllifolius 0.02% with S. Cerevisiae 0.2% and 0.5% of banana. Thai native was given access to feed was provided twice a day (7 am and 3 pm). The results showed that diets supplemented with 0.02% of P. amaryllifolius with S. Cerevisiae 0.2% and 0.5% of banana resulting in the body weight (BW), daily body weight gain and Feed conversion ratio (FCR) which is higher than control group (P <0.05). Therefore, the diets supplemented with 0.02% of P. amaryllifolius with S. Cerevisiae 0.2% and 0.5% of banana resulted in improved performance.
dc.description.abstractไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ การศึกษาในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สารเสริมในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ การศึกษาประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 พัฒนาและศึกษาผลของสารเสริมในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่แม่พันธุ์พื้นเมือง โดยใช้แม่พันธุ์ไก่ประดู่หางดำ จำนวน 400 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง การทดลองละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 25 ตัว ให้อาหารประกอบด้วยสูตรอาหารควบคุม สูตรอาหารที่มีการเสริมกวาวเครือขาวที่ระดับ 0.01% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% สูตรอาหารที่มีการเสริมกวาวเครือขาวที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% และสูตรอาหารที่มีการเสริมกวาวเครือขาวที่ระดับ 0.03% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% โดยมีการให้อาหารและน้ำ 2 ครั้ง (7.00 น. และ 15.00น.) จากการศึกษาพบว่า กลุ่มที่เสริมกวาวเครือขาวที่ระดับ 0.01% ยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% มีผลทำให้มีปริมาณการให้ไข่ เปอร์เซ็นต์การฟักออกเปอร์เซ็นต์ไข่มีเชื้อมวลไข่ และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนนอาหารเป็นไข่ที่ดีกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) และมีปริมาณอาหารที่กินน้อยกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ดังนั้นการเสริมกวาวเครือขาวที่ระดับ 0.01% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% มีผลทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น การทดลองที่ 2 พัฒนาและศึกษาผลของสารเสริมในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พันธุ์พื้นเมืองไทย โดยใช้ลูกไก่พื้นเมืองไทยประดู่หางดำ จำนวน 1,200 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 75 ตัว ประกอบด้วยสูตรอาหารควบคุมสูตรอาหารที่มีการเสริมใบย่านางที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% สูตรอาหารที่มีการเสริมใบบัวบกที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% และสูตรอาหารที่มีการเสริมใบเตยที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% โดยมีการให้อาหาร 2 ครั้ง (7.00 น. และ 15.00 น.) จากการศึกษาพบว่า สูตรอาหารที่มีการเสริมใบเตยที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% มีน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ต่อวัน และอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001) สูตรอาหารที่มีการเสริมใบเตยที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% มีผลทำให้สมรรถภาพการผลิตที่ดีขึ้น
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.identifier.urihttps://updc.up.ac.th/handle/123456789/483
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยา
dc.subjectสมุนไพร
dc.subjectสารเสริมชีวนะ
dc.subjectสารส่งเสริมชีวนะ
dc.subjectสมรรถภาพการผลิต
dc.subjectความสมบูรณ์พันธุ์
dc.subjectHerb
dc.subjectProbiotic
dc.subjectPrebiotic
dc.subjectPerformance
dc.subjectSexual maturity
dc.titleการพัฒนาผลิตภัณฑ์สารเสริมอาหารจากธรรมชาติเพื่อเพิ่มสมรรถภาพ การผลิตไก่แม่พันธุ์และลูกไก่พื้นเมืองไทย
dc.title.alternativeDevelopment of Natural Feed Additive Products to Improve Performance of Thai Native Hen and Chicks
dc.typeThesis
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
Sathit Anupim.pdf
Size:
2.09 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: