การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

No Thumbnail Available
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ข้าราชการครู จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจ ด้านวัตกรรม รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมต่อการทำงานเป็นทีม ด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม ด้านการมีกลยุทธ์เชิงนวัตกรรม และด้านการมีความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Description
This article aimed to study 1) the innovative leadership level of school director in Mae Suai District under the Primary Educational Service Area Office2 2) to compare the innovative leadership of the school director in Mae Suai District under the Primary Educational Service Area Office2 by age, education level and work experience. The sample was 234 teachers in the schools under the Primary Educational Service Area Office 2. The instruments for collecting data was the innovative leadership questionnaire for school director analysis data by using percentage, mean, standard deviation, independent test, One-way ANOVA test The results of this research were as follows; 1) Innovative leadership of school director in Mae Suai District under the Primary Educational Service Area Office2 is a highest level both overall and each side. When considering each aspect, it was found that highest mean was support and motivate to innovation. It was follows by participative. to teamwork and innovative vision, innovative strategy and creative innovation, respectively. 2) The results of comparison of innovative of school director in Mae Suai District under the Primary Educational Service Area Office2 classified by age, education level and work experience had not different overall or in each side.
Keywords
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา, Innovative Leadership, Administrator
Citation