ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วนและอ่างเก็บน้ำห้วยสระ ปี 2559
Loading...
Date
2016
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชกับคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วน และอ่างเก็บน้ำห้วยสระ โดยทำการเก็บตัวอย่างในเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วน บริเวณที่มีความลึกมากที่สุดตามระดับความลึกทุก ๆ 20 เมตร (0-60 เมตร) รวมทั้งผิวน้ำ และอ่างเก็บน้ำห้วยสระ บริเวณผิวน้ำ ผลการศึกษาพบว่า ในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วน มีแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 7 Division 29 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Chlorophyta (44.83%) รองลงมา คือ Division Cyanophyta (17.24%) Division Euglenophyta (13.79%) Division Bacillariophyta (10.34%) Division Pyrrophyta (6.90%) Division Chrysophyta (3.45%) และ Division Cryptophyta (3.45%) ตามลำดับ ส่วนในอ่างเก็บน้ำห้วยสระ พบว่า มีแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 7 Division 38 species โดยแพลงก็ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Euglenophyta (34.21%) รองลงมา คือ Division Chlorophyta (26.32%) Division Cyanophyta (13.16%) Division Bacillariophyta (13.16%) Division Chrysophyta (5.26%) Division Pyrrophyta (5.26%) และ Division Cryptophyta (2.63%) ตามลำดับ ตลอดระยะเวลา 3 เดือน พบว่า แพลงก์ตอนพืชที่มีความถี่สัมพัทธ์ และการกระจายตัวสัมพัทธ์สูงที่สุด คือ Peridiniopsis sp. จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของแพลงก์ตอนพืชกับปัจจัยคุณภาพน้ำโดยวิธี Canonical Correspondence Analysis (CCA) พบว่า มี 3 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านกายภาพและเคมีบางประการ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ Coelastrun sp. Euglena sp.1 Euglena sp.2. Euglena sp.3 Euglena sp.4 Pandorina sp. Strombomonas sp. Trachelomonas sp.1 และ Trachelomonas sp.2 มีแนวโน้มความสัมพันธ์เชิงบวกกับ DO และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมด และปริมาณของแข็งทั้งหมด กลุ่มที่ 2 คือ Aphanocapsa holsatica Dinabryon divergens Encyonema sp. Heteronema sp. Navicula sp. Oscillatoria sp. Petalomonas sp. Strombomonas acuminata Tetroedron incus และ Trachelomonas volvocinopsis มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด ฟิคัลโคลิฟอร์ม ฟอสฟอรัสทั้งหมด และความขุ่น และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับ E. coli pH แอมโมเนียไนโตรเจน ไนโตรเจนรวม ความลึกที่แสงส่องถึง และอุณหภูมิอากาศ กลุ่มที่ 3 คือ Botryococcus braunii Closterium sp. Cosmarium sp. Cosmocladium constrictum Didymocystis sp. แaะ Synedra ulno มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ E. coli และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด ฟีคัลโคลิฟอร์ม ฟอสฟอรัสทั้งหมดความขุ่น และปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำทั้งหมด การประเมินคุณภาพน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืช ชนิดเด่นที่พบโดย วิธี AARL-PP Score พบว่า ตลอดระยะเวลาศึกษาคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วนและอ่างเก็บน้ำหัวยสระ อยู่ในระดับคะแนนที่ 5.6-7.5 คะแนน จัดคุณภาพน้ำตามระดับสารอาหารอยู่ในระดับ Meso-eutrophic (สารอาหารปานกลางถึงสูง) ส่วนการประเมินคุณภาพน้ำตามดัชนีคุณภาพน้ำ Water Quality Index (WQI) พบว่า คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วนและอ่างเก็บน้ำห้วยสระ อยู่ในระดับคะแนนที่ 49-76 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม-ดี และจัดอยู่ในแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2-4-4 นอกจากนี้ยัง พบว่า ปริมาณของสารหนูในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วน และอ่างเก็บน้ำห้วยสระ มีปริมาณต่ำกว่าระดับที่สามารถตรวจวัด (0.01 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร) ในทุกตัวอย่างน้ำ
Description
The study aims to analyses the relationship between phytoplankton diversity and water quality in Chiong Muan Lignite Mine Reservoir and Hugy Sra Reservoir during August-October 2016. The samples were collected at the deepest area and at every 20 er depth (O-60 meters) including surface water of Chiang Muan Lignite Mine Res and at the water surface of Huay Sra Reservoir. In Chiang Muan Lignite Mine Reservoir, 7 Divisions with 29 species of phytoplankton were found. The most species number were classified into Division Chlorophyta (44.83%) followed by Cyanophyta (17.24%), Euglenophyta (13.79%), Bocillariophyta (10.34%), Pyrrophyta (6.90%), Chrysophyta (3.45%) and Cryptophyta (3.45%), respectively. In Huay Sra Reservoir, 7 Divisions with 38 species of phytoplankton were found. The most species number were classified into Euglenophyta (34.21%) followed by Chlorophyta (26.32%), Cyanophyta (13. Bacillariophyta (13.16%), Chrysophyta (5.26%), Pyrrophyta (5.26%) and Cryptophyta (2.63%), respectively. The highest relative abundance and the highest relative frequency was Peridiniopsis sp. during study period. According to the correlation analysis between phytoplankton species and some water quality parameters using Canonical Correspondence Analysis (CCA), it can be categorized in 3 groups as the following, 1) Coelastrun sp., Euglena sp.1, Euglena sp.2. Euglena sp.3, Euglena sp.4, Pandorina sp, Strombomonas sp, Trachelomonas sp.1 and Trachelomonas sp.2 had a positive relationship with DO but this group had a negative relationship with total dissolved solid and total solid. 2) Aphanocapsa holsatica, Dinobryon divergens, Encyonema sp., Heteronema sp., Navicula sp., Oscillatoria sp., Petalomonas sp., Strombomonas acuminata Tetraedron incus and Trachelomonas volvocinopsis had a positive relationship with total coliform, fecol coliform, total phosphorus and turbidity but this group has a negative relationship with E. coli, pH, ammonia nitrogen, total nitrogen, Secchi depth and air temperature. 3) Botryococcus braunii, Closterium sp., Cosmarium sp., Cosmocladium constrictum, Didymocystis sp. and Synedra ulna hod a positive relationship with E.coli but this group has a negative relationship with total coliform, fecal coliform, total phosphorus, turbidity and total suspended solids. The AARL-PP Score indicated that water quality of Chiang Muan Lignite Mine Reservoir and Huay Sra Reservoir were 5.6 to 7.5 score which was categorized into Meso-eutrophic status indicated the moderate to high nutrients in water. The Water Quality Index (WQI) applied that water quality of Chiang Muan Lignite Mine Reservoir and Huay Sra Reservoir were 49 to 76 score which was
categorized into Polluted-good water quality and classified into class 2 to 4 of Surface Water Quality Standards. Additionally, it also found that the concentration of arsenic in Chiang Muan Lignite Mine Reservoir and Huay Sra Reservoir were lower than the concentration of detection limit (0.01 mg/l) in all water samples.
Keywords
แพลงก์ตอนพืช, คุณภาพน้ำ, ดัชนีทางชีวภาพ, อ่างก็บน้ำเหมืองเชียงม่วน, อ่างเก็บน้ำห้วยสระ, Phytoplankton, Water Quality, Diversity Index, Chiang Muan Lignite Mine Reservoir, Huay Sra Reservoir
Citation
กรวิชญ์ ดวงกิจ และคณะ. (2557). ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเหมืองเชียงม่วนและอ่างเก็บน้ำห้วยสระ ปี 2559. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.