ความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์และคุณภาพน้ำจากหนองเล็งทรายจนถึงกว๊านพะเยา
dc.contributor.author | รมิตา เหลี่ยมแฉ่ง | |
dc.date.accessioned | 2025-04-25T06:37:51Z | |
dc.date.available | 2025-04-25T06:37:51Z | |
dc.date.issued | 2024 | |
dc.description | The research of the relationship between desmid algae diversity and water quality in the area covering from Nong Leng Sai to Kwan Phayao reservoirs from January to December 2022 revealed that seasonal variation had a stronger effect on water quality indicators than geographical change. Evaluation of water resource quality using the Water Quality Index (WQI) revealed that most stations were classified as Type 3 water resources. However, when the quality of the water resources was evaluated using the AARL - PC score index, it was found that all stations exhibited excellent to moderate water quality, characterized by a minimal to moderate nutrient content (oligo-mesotrophic status). According to the study of desmid algae diversity, a total of 10 genera and 70 species of desmids have been found, divided into the following 4 families; 1 genus of Mesotaeniaceae included 1 species of Roya (1.40%), 1 genus of Gonatozygaceae contained 1 species of Gonatozygon (1.40%), 1 genus of Closteriaceae contained 18 species of Closterium (25.35%), 7 genera of Desmidiaceae contained 20 species of Cosmarium (28.16%), 1 species of Euastrum (1.40%), 1 species of Micrasterias (1.40%), 1 species of Spondylosium (1.40%), 21 species of Staurastrum (29.57%), and 4 species of Staurodesmus (5.63%). The dominant desmid species was Closterium acutum var. variabile. When evaluating desmid algae diversity using various indices, it was discovered that Shannon's diversity index was more suitable than Simpson's index for analyzing desmid algae diversity in this research geographical area. By using CCA and Pearson's correlation coefficient to examine the relationship between desmid algae diversity and water quality, three categories of relationships were identified. In conclusion, the water quality in the Nong Leng Sai and Kwan Phayao areas is better than in the waterway, resulting in a greater diversity in the reservoirs. These data could potentially be applied to improve water resource management for environmentally friendly consumption and sustainable conservation of aquatic ecosystems. | |
dc.description.abstract | การศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำ และความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์จากหนองเล็งทรายจนถึงกว๊านพะเยา ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 พบว่า อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลมีผลต่อพารามิเตอร์คุณภาพน้ำมากกว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของแหล่งน้ำ เมื่อประเมินคุณภาพแหล่งน้ำด้วยดัชนีคุณภาพน้ำ (WQI) พบว่า แหล่งน้ำเกือบทุกสถานีจัดเป็นแหล่งน้ำประเภทที่ 3 ในขณะที่การประเมินคุณภาพแหล่งน้ำด้วยดัชนี AARL-PC Score จัดทุกสถานีอยู่ในคุณภาพน้ำระดับดี-ปานกลาง โดยพบว่า มีสารอาหารน้อยถึงปานกลาง (oligo - mesotrophic) จากการศึกษาความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์ พบเดสมิดส์ทั้งหมด 10 สกุล 70 ชนิด โดยแบ่งเป็น 4 วงศ์ ได้แก่ Mesotaeniaceae พบ 1 สกุล คือ Roya 1 ชนิด (1.40%), Gonatozygaceae พบ 1 สกุล ได้แก่ Gonatozygon 1 ชนิด (1.40%). Closteriaceae พบ 1 สกุล คือ Closterium 18 ชนิด (25.35%) และ Desmidiaceae พบ 7 สกุล 50 ชนิด ได้แก่ Actinotaenium 2 ชนิด (2.81%), Cosmarium 20 ชนิด (28.16%), Euastrum 1 ชนิด (1.40%), Micrasterias 1 ชนิด (1.40%), Spondylosium 1 ชนิด (1.40%), Staurastrum 21 ชนิด (29.57%) และ Staurodesmus 4 ชนิด (5.63%) โดยมีชนิดเด่น คือ Closterium acutum var. variabile จากการประเมินดัชนีความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์ พบว่า Shannon’s diversity index มีความเหมาะสมในการวิเคราะห์ความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์ในพื้นที่ศึกษามากกว่า Simpson’s index เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำ และความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์ด้วยวิธี CCA และ Pearson’s correlation coefficient สามารถจัดกลุ่มความสัมพันธ์ได้ทั้งสิ้น 3 กลุ่ม ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าหนองเล็งทรายและกว๊านพะเยามีคุณภาพน้ำ โดยรวมดีกว่าบริเวณคลองส่งน้ำ และส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่ายเดสมิดส์ให้มีความหลากหลายที่สูงเช่นกัน ข้อมูลที่ได้มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรักษาระบบนิเวศแหล่งน้ำให้มีความยั่งยืนต่อไป | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.citation | รมิตา เหลี่ยมแฉ่ง. (2567). ความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์และคุณภาพน้ำจากหนองเล็งทรายจนถึงกว๊านพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC). | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/1602 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | สาหร่ายเดสมิดส์ | |
dc.subject | คุณภาพน้ำ | |
dc.subject | ดัชนีทางชีวภาพ | |
dc.subject | กว๊านพะเยา | |
dc.subject | หนองเล็งทราย | |
dc.subject | Desmids algae | |
dc.subject | Water quality | |
dc.subject | Bioindicator | |
dc.subject | Kwan Phayao | |
dc.subject | Nong Leng Sai | |
dc.title | ความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์และคุณภาพน้ำจากหนองเล็งทรายจนถึงกว๊านพะเยา | |
dc.title.alternative | Relationship between Desmids Diversity and Water Quality from Nong Leng Sai to Kwan Phayao | |
dc.type | Thesis |