ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพตามนโยบายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4.0 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยเชิงพรรณนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะทางประชากร การยอมรับและการใช้เทคโนโลยี ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ความผูกพันกับองค์กร และศักยภาพตามนโยบายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 4.0 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับศักยภาพตามนโยบาย อสม.4.0 และ 3) ปัจจัยทำนายศักยภาพตามนโยบาย อสม. 4.0 ของ อสม. ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. จำนวน 145 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ ไคสแควร์ สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และสถิติถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63.40) มีอายุอยู่ระหว่าง 50-59 ปี (ร้อยละ 48.30) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 84.10) ระยะเวลาการเป็น อสม. ต่ำกว่า 10 ปี (ร้อยละ 40.70) การศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 43.40) ประกอบอาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 55.90) รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 55.90) สถานภาพการเป็น อสม. เป็นสมาชิกทั่วไป (ร้อยละ 80.70) ไม่มีตำแหน่งอื่นนอกจาก อสม. (ร้อยละ 80.70) ผลการศึกษา การยอมรับและการใช้เทคโนโลยี ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ความผูกพันองค์กร และการวัดศักยภาพตามนโยบาย อสม.4.0 อยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายศักยภาพตามนโยบาย อสม. 4.0 ได้แก่ การยอมรับและการใช้เทคโนโลยี ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันองค์กร โดยสามารถสร้างสมการทำนาย คือ ศักยภาพตามนโยบาย อสม. 4.0 =0.313+0.165 (ความผูกพันองค์กร) + 0.273 (ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน) + 0.431 (การยอมรับและการใช้เทคโนโลยี) มีความสามารถทำนายได้ร้อยละ 67.00
Description
This descriptive research aimed to study 1) demographic characteristics, technology acceptance and use, job satisfaction, organizational commitment and potential of village health volunteers (VHVs) according to VHVs 4.0 policy, 2) factors related to VHVs' potential according to VHV 4.0 policy and 3) factors predicted potential according to VHVs 4.0 policy of VHVs in Sridonchai Sub-district, Chiang Khong District, Chiang Rai Province. The sample consisted of 145 VHVs by using stratified random sampling method. Tool was questionnaire. Data was analyzed by using descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics; Chi-squared test, Pearson Product Moment Correlation and multiple regression. The results revealed that most of the respondents were female (63.40%), aged between 50-59 years (48.30%), marital status (84.10%), duration of being VHV was less than 10 years (40.70%), finished primary school (43.40%), farming (55.90%), monthly income less than 5,000 baht (55.90%) and no other position (89.70%). The average score of technology acceptance and use, job satisfaction, organizational commitment and potential according to the VHV 4.0 policy were at high level. Factors both related and predicted VHV's potential according VHV 4.0 policy were technology acceptance and use, job satisfaction, organizational commitment. Predicting equation created was "VHVs 4.0 policy = 0.313 + 0.165 (organizational commitment) + 0.273 (job satisfaction) + 0.431 (technology acceptance and use) with 67 predictable percent.
Keywords
นโยบาย อสม 4.0, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), ศักยภาพของ อสม., VHV 4.0 policy, Village health volunteers (VHV's), VHV's potentials
Citation