การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
No Thumbnail Available
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) เป็นหนึ่งในมลสารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคระบบทางเดินหายใจ ในภาคเหนือตอนบนประสบปัญหาหมอกควันจากฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นประจำทุกปี จากข้อมูลความเข้มข้นของ PM10 ในภาคเหนือตอนบนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2563 พบจำนวนวันที่ PM10 เกินค่ามาตรฐานรายวันของประเทศไทย (120 μg/m3) เพิ่มถึงกว่า 175 วัน ด้วยเหตุนี้การศึกษาผลกระทบจากปัญหาของ PM10 ต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของค่าความเข้มข้นของ PM10 ต่อจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจ ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน และพะเยา ในปี พ.ศ. 2555 โดยการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารมลพิษทางอากาศ ด้วยโปรแกรม BenMAP (The environmental Benefits Mapping and Analysis Program-Community Edition) งานวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษากลุ่มอายุเป้าหมายประชากรมีช่วงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งใช้ค่าสัมประสิทธิ์ทางระบาดวิทยาของ PM10 ต่ออัตราการเสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจ (β) เท่ากับ 0.00672) และมีการเปรียบเทียบเมื่อลดระดับความเข้มข้นของ PM10 ลง 50% 20% และ 15% จะช่วยหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจถึง 214 คน 91 คน และ 69 คน ตามลำดับ ซึ่งพบว่า เมื่อลดระดับความเข้มข้นของ PM10 ลง 50% จะช่วยหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจได้มากกว่าการลดระดับความเข้มข้นของ PM10 ลง 20% และ15% สูงถึงร้อยละ 57.5 และ67.8 ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้สามารถระบุผลกระทบต่อสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงจากการได้รับสารมลพิษทางอากาศได้ และเพื่อเป็นแนวทางการจัดการนโยบายด้านคุณภาพอากาศในอนาคตของประเทศไทย
Description
According to several studies, PM10 is one of the air pollutants that has a significant impact on human health, particularly respiratory diseases with air pollution as a leading cause of disease. From 2010- 2020, the average PM10 mass concentrations slightly decreased in the northern region of Thailand. However, we found that the highest concentration during this period was 47.6 μg/m3 in 2012 and the number of days that the PM10 level exceeded the Thailand 24-hour guideline value (120 μg/m3) was 175 days. Due to this, air pollution has become a serious environmental and health issue in northern Thailand. The goal of this study was to study the relationship of PM10 to the number of respiratory mortalities in 8 provinces in the upper northern region of Thailand in 2012, namely Chiang Mai, Chiang Rai, Lamphun, Lampang, Phrae, Nan, Mae Hong Son and Phayao. Health burden analysis using the Environmental Benefits Mapping and Analysis Program (EPA’s environmental BenMAP). The study analyzed the number of respiratory mortalities caused by PM10 in northern Thailand with an age range between 18 years and over. Concentration-response coefficients (β values 0.00672). and in comparison, PM10 mass concentrations decreased 50%, 20%, and 15%, respectively avoided death from respiratory disease in 214, 91 and 69, respectively. PM10 mass concentrations decreased 50% would avoid death from respiratory disease more than PM10 mass concentrations decreased 20% and 15% to 57.5% and 67.8%, respectively. From the results of this study, health effects can be identified, and the risk of air pollution exposure can be assessed to be a guideline for managing future air quality policies in Thailand.
Keywords
โรคระบบทางเดินหายใจ, สุขภาพ, BenMAP, ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย, ฝุ่นละอองขนาด 10 ไมครอน, PM10, Respiratory Mortality, Health, Northern Thailand
Citation
ภคพร งามแสง. (2565). การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).