ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครู จำนวน 311 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ แบบมุ่งผลสำเร็จ แบบมีส่วนร่วม แบบสนับสนุน 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านชุมชน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำเชิงสถานการณ์ ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันในทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description
The objectives of this research were 1) to study of leadership behavior of school administrators 2) to study the effectiveness of schools and 3) to study the relationship between leadership of school administrators and school effectiveness. The sample group in this research was teachers of total 311 people. The instrument used in this research was a questionnaire with reliability value of 0.97. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation. The results that: 1) The overall and individual aspects of the leadership behavior of school administrators under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 1 was at a high average. Namely: success-oriented aspect, participative aspect, and supportive aspect. 2) The school effectiveness under the Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 1 was at a high level. Namely: learner quality aspect, community aspect, and learning management aspect. 3) The Relationship between leadership behavior of school administrators and school effectiveness under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 1 overall and individual aspect had a positive correlation high level with statistically significant at the 0.01 level.
Keywords
พฤติกรรมผู้นำเชิงสถานการณ์, ประสิทธิผลของสถานศึกษา, Leadership Behavior, Effectiveness of Educational
Citation