ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคม จังหวัดพะเยา
dc.contributor.author | รฑิตา ฟูแสง | |
dc.date.accessioned | 2023-11-29T07:46:22Z | |
dc.date.available | 2023-11-29T07:46:22Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.description | The purposes of this research were to study the satisfaction and behaviors of users on the services of the Social Security Office, Phayao. The study sample in this study was insured persons according to article 33, 39 and 40. The sample size of 400 was determined using Taro Yamane’s table. The sample was purposively chosen and consisted of 200 males and 200 females. The obtained data was statistically analyzed and presented as frequencies, percentages, mean and standard deviation. The study hypothesis was tested using T-test and One-Way ANOVA. P-value less than 0.05 was considered statistically significant. The results showed that the overall satisfaction level was high with the mean was 3.92. When considering each aspect, the satisfaction levels were high in all aspects with the descending means included the service of the staff, the systems and procedures and the location and amenities. The results of hypothesis testing showed that gender, education and income were not associated with the satisfaction, whereas age, occupation and user status were factors associated with the satisfaction. There was no difference in the satisfaction levels according to behavior regarding waiting time and time to use services. There was a statistically significant difference in the level of satisfaction regarding frequencies of service and the dates of the services | |
dc.description.abstract | การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39 และ 40 จำนวน 400 ราย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกมาโดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วยเพศหญิงและเพศชายกลุ่มละ 200 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติ T-test และ One-Way ANOVA กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพะเยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 3.92 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ ด้านระบบงานและขั้นตอนการให้บริการ และด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ การศึกษาและรายได้ที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพะเยา ไม่แตกต่างกัน ขณะที่ อายุ อาชีพ และสถานะของผู้ใช้บริการที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพะเยา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อจำแนกตามพฤติกรรมการใช้บริการ พบว่า ระยะเวลารอคอยการรับบริการ และเวลาที่มาใช้บริการที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพะเยา ไม่แตกต่างกัน ส่วนความถี่ในการมาใช้บริการ ระยะเวลาเป็นผู้ประกันตน และวันที่มาใช้บริการที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดพะเยา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/124 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | ความพึงพอใจ | |
dc.subject | การให้บริการ | |
dc.subject | สำนักงานประกันสังคม | |
dc.subject | Satisfaction | |
dc.subject | Services | |
dc.subject | Socail Seurity office | |
dc.title | ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคม จังหวัดพะเยา | |
dc.title.alternative | Satisfaction of users on Service of Social Security Office in Phayao Province | |
dc.type | Thesis |