แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และโครงการนำร่องในชุมชนมัสยิดบางอ้อ เขตบางพลัด
dc.contributor.author | ชญานี โยธาสมุทร | |
dc.date.accessioned | 2024-10-25T03:25:23Z | |
dc.date.available | 2024-10-25T03:25:23Z | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description | This research aims to 1) investigate the potentials of Bangkok metropolitan to develop integrated sustainable creative halal tourism 2) create the strategic plan to develop halal tourism in Bangkok. 3) evaluate the implementation of the pilot project of the strategic plan in a community in Bangkok. The research uses mixed research method: qualitative research as the main research while quantitative research as supporting researched. The research instruments are: community study checklists. Tourism resource audit checklists, a structured in-depth interview and focus group form and questionnaires. Qualitative data are collected from 32 key informants from public, private, people and tourist sectors. Data are collected, verified and analyzed with triangulation and content analysis while the quantitative data are collected from 400 respondents belonging to public, private, people and tourist sector, Statistics used to analyze data are: percentage means and standard deviation. The findings of the research are: Bangkok has outstanding resource and sustainable management potentials as well as people participation and environmental awareness activities potentials. In terms of the Vision, Bangkok will be the World Halal Tourism Hub with 4 positioning : Position 1: River Cruising in Bangkok, Venice of the East, Position 2: Visit Bangkok, vibrant creative Economy City, Position 3: Come to Bangkok: World cosmopolitan City to live with people in the peaceful multi-cultural society, Position 4 visit Bangkok, splendid city of Art and cultural Heritage. The evaluation of the pilot project in Bang Or Mosque Community reveals Tourists' satisfaction of the familiarization Trip, learning Islamic law and way of life while Bang Or Mosque Community are convinced that the Strategic plan's vision provides excellent roadmap for the community to fulfil prospective sustainable halal Tourism development | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) แสวงหาศักยภาพของกรุงเทพมหานครในการพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน 2) สร้างแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวของกรุงเทพมหานคร 3) ประเมินผลการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวในโครงการนำร่องในชุมชนในกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยหลักและมีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นงานวิจัยสนับสนุน เครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบตรวจสอบชุมชนศึกษา แบบตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย ข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 32 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ข้อมูลเชิงคุณภาพได้รับการเก็บ วิเคราะห์ด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า และการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลตอบแบบสอบถาม คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน นักท่องเที่ยว กลุ่มละ 100 คน ผลการวิจัยพบว่า กรุงเทพมหานครมีศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่น ศักยภาพด้านการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมของประชากร ตลอดจนศักยภาพด้านกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึก ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และด้านการพัฒนาจิตใจ แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย มีวิสัยทัศน์ในรูปของการสร้างแบรนด์ท่องเที่ยวฮาลาลในกรุงเทพมหานคร ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวฮาลาลของอาเซียน โดยมีตำแหน่งของการตลาดที่โดดเด่น (Positioning) 4 ด้าน คือ ตำแหน่งที่ 1 ท่องเที่ยวฮาลาลทางธรรมชาติ วิถีชีวิตริมสายน้ำที่กรุงเทพมหานคร เวนิสตะวันออก ตำแหน่งที่ 2 ท่องเที่ยวฮาลาลที่กรุงเทพมหานครเชิงวิถีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตำแหน่งที่ 3 ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครสัมผัสสังคมพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตำแหน่งที่ 4 เยือนกรุงเทพมหานคร สัมผัสศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ หลายยุคสมัย ร่วมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ศาสนาอิสลามและปฏิบัติจิตตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม ส่วนผลการประเมินโครงการนำร่องของแผนยุทธศาสตร์ของชุมชนมัสยิดบางอ้อ พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพอใจในการท่องเที่ยวฮาลาล ณ ชุมชนมุสลิมแห่งนี้ โดยมีโอกาสศึกษาศิลปะสถาปัตยกรรมของมัสยิดบางอ้อ การร่วมพิธีกรรมทางศาสนา การฝึกปรุงอาหารฮาลาล ตลอดจนการเยี่ยมชมหมู่บ้านฮาลาลกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งต้อนรับอย่างฉันท์มิตร ในส่วนของชุมชนมัสยิดบางอ้อ พบว่า การวางแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวฮาลาลในมัสยิดบางอ้อทำให้มีแผนที่นำทางในการพัฒนาชุมชนมัสยิดบางอ้ออย่างยั่งยืน | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.citation | ชญานี โยธาสมุทร. (2566). แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และโครงการนำร่องในชุมชนมัสยิดบางอ้อ เขตบางพลัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC). | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/930 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ | |
dc.subject | แผนยุทธศาสตร์ | |
dc.subject | แบรนด์การท่องเที่ยวฮาลาล | |
dc.subject | Strategic | |
dc.subject | Plan Halal | |
dc.subject | Tourism Brand Development | |
dc.title | แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และโครงการนำร่องในชุมชนมัสยิดบางอ้อ เขตบางพลัด | |
dc.title.alternative | Strategic Plan for Halal Tourism Development for Muslim Markets in Bangkok, Thailand and The Pilot Project at Bang or Mosque Community, Bang Phat District | |
dc.type | Thesis |