การเรียนรู้บนฐานการออกแบบเพื่อพัฒนาการคิดเชิงออกแบบและความเข้าใจ เรื่อง หลักการทำงานของพื้นเอียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 : กรณีศึกษาโรงเรียนดอยงามวิทยาคม

No Thumbnail Available
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการเรียนรู้บนฐานการออกแบบต่อความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ และชุดความคิดเชิงออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 คน ซึ่งเป็นเพศหญิงทั้งหมด ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์แบบเลือกตอบ จำนวน 24 ข้อ และแบบวัดความคิดเชิงออกแบบที่เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บนฐานการออกแบบ เรื่อง หลักการทำงานของพื้นเอียง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติบรรยาย และสถิติอนุมาน ผลการวิจัยปรากฏว่า นักเรียนพัฒนาความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) แต่ไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ในแง่ของความคิดเชิงออกแบบ (p > 0.05) ผลการวิจัยนี้จึงบ่งชี้ว่า การพัฒนาความคิดเชิงออกแบบเป็นสิ่งที่ท้าทาย งานวิจัยในอนาคตจำเป็นต้องหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาความคิดเชิงออกแบบของนักเรียน
Description
The purpose of this research was to examine the effects of design-based learning on six female tenth-grade students' scientific understanding and design-thinking mindsets. The researchers collected data using a multiple-choice conceptual test comprising of 24 items and a Likert five-point scale measuring design-thinking mindsets comprising of 30 items before and after the implementation of design-based learning in the topic of inclined planes. The researchers analyzed the data using descriptive and inferential statistics. Research results reveal that the students significantly developed scientific understanding (p < 0.05) but did not exhibit a significant change in design-thinking mindsets (p > 0.05). These research results indicate that developing design-thinking mindsets is a challenge. Future research is necessary to find an effective way to develop students' design-thinking mindsets.
Keywords
การเรียนรู้บนฐานการออกแบบ, ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์, ชุดความคิดเชิงออกแบบ, พื้นเอียง, สะเต็มศึกษา, Design-based learning, Design-thinking mindsets, Inclined plane, Scientific understanding, STEM education
Citation