การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 8 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Loading...
Date
2023
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 8 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยจำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 8 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สูตร T-test (Independent Samples) ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) จากผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ และการกระตุ้นทางปัญญา 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศและประสบการณ์การทำงาน พบว่า ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Description
A study of transformational leadership of school administrators has the objectives of this research to study 1) to study transformational leadership level of school administrators and 2) to compare transformational leadership of school administrators’ gender and work experiences. The sample was the administrators and teachers at school’s administrator in the network promote efficiency of Special Education Center group 8 under Special Education Bureau 248 people. The instruments used in this study were five level rating scales. The data were analyzed by descriptive statistics including percentage, frequency average, standard deviation, t-test (Independent Samples) and inferential statistics: One-Way ANOVA. The results of the study found 1) transformational leadership of school administrators, overall are the high levels. Considering the orders, the highest mean to the lowest one was as follows: Intellectual stimulation, Idealized Influence, Inspiration Motivation, and Intellectual Stimulation. 2) The comparison of transformational leadership of school administrators according to gender and work experiences was not different.
Keywords
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ภาวะผู้นำ, ศูนย์การศึกษาพิเศษ, สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, Transformational Leadership, Leadership, Special Education Center, Special Education Bureau
Citation
รัตนาภรณ์ จันทร์ปิง. (2566). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 8 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).