ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนชุมชนบ้านหลวง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
Loading...
Date
2018
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนชุมชนบ้านหลวง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura (1997) ศึกษากลุ่มตัวอย่างเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินอายุ 9-12 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน ที่มีภาวะโภชนาการหนักเกินที่ผ่านการตรวจสอบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และทดสอบ ค่าความเชื่อมั่น โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired Sample T-test และ Independent T-test ผลการวิจัย พบว่า เด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินกลุ่ม ที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถแห่งตน คะแนนความคาดหวัง คะแนนพฤติกรรมบริโภคอาหาร และพฤติกรรมออกกำลังกายสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุข ครูอนามัยโรงเรียนสามารถนำโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันภาวะอ้วนในกลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินได้
Description
The main objective of this quasi-experimental research was to The Effects of Health Promotion Program on Behavioral Modification for Weight Control Among Overweight Chomchonbanlung School, Chiang Muan District, Phayao Province. The conceptual framework of this study was based on the Self-Efficacy Theory proposed by Bandura (1997). The sample included 60 students, age 9-12 year old with overweight, were divided equally into the experimental and control groups. The experimental group participated in the 12-week health Promotion Program on Behavioral Modification for Weight Control Among Overweight, whereas, the control group received no treatment. Data were collected at two-week after the intervention by using food consumption questionnaire. The instrument was evaluated for content validity by three experts. Cronbach’s alpha coefficient was 0.72. Statistical utilized for analysis was descriptive statistics, Paired Sample T-test and T-test. Results revealed that the school-age children with overweight who received Health Promotion Program on Behavioral Modification for weight control Among Overweight consumption score at posttest higher than at pretest and those of the control group with statistical significance.
Keywords
เด็กวัยเรียน, โปรแกรม, ภาวะโภชนาการเกิน, การรับรู้ความสามารถแห่งตนเอง, ความคาดหวังในผลลัพธ์, Children, Program, Overweight, Perceived self-efficacy, Social support, Consumption behavior, School-age children