การประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะของตัวละครชูชกในมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา
dc.contributor.author | ยุทธพงษ์ สุยะ | |
dc.date.accessioned | 2024-05-31T06:37:52Z | |
dc.date.available | 2024-05-31T06:37:52Z | |
dc.date.issued | 2021 | |
dc.description | The qualitative research paper aims to investigate the symbolic meaning construction of Chu Chok's characteristics and the process of otherness to Chu Chok in Mahajati Vessantara Jataka Lanna Issue. Three Mahajati Vessantara Jataka Lanna Issues are studied. The first version is named Soi Sang Kara. It was edited by PhraUpalikunupamajara (Fu Attacheevo). The second one is called Mai Phai Chae Ria Dang, edited by Prof. Dr. Udom Runreunsri and the last issue is Kutikham version, edited by Phrakruadulsrilakiti. Semiology and otherness theory are used to study in this research and descriptive method is applied to demonstrate all result of the study. From the study of all of three issues, it shows three symbolic meaning of Chu Chok's characteristics; the first aspect is Chu Chok's character, the second is Chu Chok's behaviors presented in the issue and the third one is the meaning of words or author's perspective expressed throughout the issues. These factors construct symbolic meaning to Chu Chok in Mahajati Vessantara Jataka. In terms of the study of the otherness of Chu Chok, it indicates that the otherness is transferred to Chu Chok through human perspective, race and Brahman cast. This process is produced repeatedly to reflect belief and this continues to grow through Mahajati Vessantara Jataka till the present time | |
dc.description.abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาการประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะของตัวละครชูชก ที่ปรากฏในมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา และศึกษากระบวนการสร้างความเป็นอื่นให้แก่ชูชก ในมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา และกระบวนการสร้างความเป็นอื่นให้แก่ชูชก ที่ปรากฎในมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา ฉบับสร้อยสังกร รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระอุบาลีคุณูป-มาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) ฉบับไม้ไผ่แจ้เรียวแดง รวบรวมและเรียบเรียงโดย ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี และฉบับกุฎีคำ รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระครูอดุลสีล-กิตติ ซึ่งในการศึกษาจะเน้นการวิเคราะห์โดยเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาวรรณกรรมกับแนวคิดทางสังคมเข้าด้วยกัน โดยอาศัยทฤษฎีสัญวิทยาและแนวคิดความเป็นอื่น นำเสนอและวิเคราะห์แบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สัญญะที่ปรากฏในมหาชาติเวสสันดรชาดกทั้งสามสำนวนนั้นปรากฏ 3 ลักษณะ คือ สัญญะที่ปรากฎจากรูปลักษณ์ภายนอก หมายถึง รูปร่างลักษณะภายนอกของชูชก สัญญะที่ปรากฏจากพฤติกรรม หมายถึง กิริยา วาจา ท่าทางที่ชูชกแสดงให้ผู้อ่านได้พบ และสัญญะที่ปรากฏจากความรู้สึก หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นมีต่อชูชก ซึ่งอาจเป็นวลี ข้อความที่กล่าวถึงชูชกโดยตรงหรือข้อความที่ ผู้แต่งประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะให้แก่ตัวละครชูชก จากการศึกษากระบวนการสร้างความเป็นอื่นให้แก่ชูชกนั้น พบว่า กระบวนการสร้างความเป็นอื่นให้กับตัวละครชูชกนั้นได้ถ่ายทอดผ่านตัวละครชูชกด้วยกระบวนการสร้างความเป็นอื่นจากมนุษย์โดยทั่วไป กระบวนการสร้างความเป็นอื่นด้านเชื้อชาติ และกระบวนการสร้างความเป็นอื่นด้านวรรณะพราหมณ์ อันเป็นกระบวนการที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อสะท้อนความคิดทางด้านความเชื่อ โดยมีการผลิตซ้ำ ตอกย้ำ และกำหนดกระบวนการดังกล่าวให้สืบทอดผ่านวรรณกรรมมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนามาจนถึงปัจจุบัน | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/587 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | การประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะ | |
dc.subject | การวิเคราะห์เชิงสัญญะ | |
dc.subject | ความเป็นอื่น | |
dc.subject | มหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา | |
dc.subject | The construction of the symbolic meaning | |
dc.subject | The analysis of the symbolic | |
dc.subject | The otherness | |
dc.subject | Mahajati Vessantara Jataka Lanna | |
dc.title | การประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะของตัวละครชูชกในมหาชาติเวสสันดรชาดกล้านนา | |
dc.title.alternative | The Construction of The Symbolic Meaning of The Characters to the Chu Chok in Mahajati Vessantara Jataka Lanna Issue | |
dc.type | Thesis |