การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

No Thumbnail Available
Date
2023
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการสอน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 314 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test และการทดสอบ F-test และทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีของ Sheffe’ ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ซึ่งจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description
The objectives of this research were 1) to study teachers’ participation in the management of the SEAT framework in the inclusive schools under Bangkok Primary Education Service Area Office, 2) to compare teachers’ participation in the management of the SEAT framework in the inclusive schools as classified by educational level, teaching experienced and school size. The sample group were 314 primary school teachers in the inclusive schools under Bangkok Primary Education Service Area Office. The research tool was a 5 rating scale questionnaire which the reliability was 0.87. The data were analyzed with descriptive statistics: percentage, mean, standard deviation and inferential statistics: t-test and F-test. The results of this research were as follows: 1) teachers’ participation in the management of the SEAT framework in the inclusive schools in overall and each aspect were rated at a high level 2) the comparison of teachers’ participation in the management of the SEAT framework as classified by educational level and teaching experienced in overall and each aspect were not difference but as classified by school size in overall and each aspect were statistical difference at 0.05 level.
Keywords
การบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT), โรงเรียนเรียนร่วม, SEAT Framework, Inclusive Schools
Citation