การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3
dc.contributor.author | สรายุทธ วีระวงค์ | |
dc.date.accessioned | 2024-06-27T02:42:19Z | |
dc.date.available | 2024-06-27T02:42:19Z | |
dc.date.issued | 2021 | |
dc.description | The objective of this study was to study conflicts in educational institutions under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3 and to study the conflict management of school administrators under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3. The sample groups used in this research were education institution administrators and teachers in educational institutes under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3, Academic Year 2020, totaling 438 people, separated into 103 school administrators and 335 teachers in educational institutes. By the sampling method stratified by district the research instruments were divided into 3 parts, consisting of part 1: questionnaire information of the respondents. It is the Check List, part 2, it is a questionnaire about conflicts in educational institutions under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3 and Part 3, it was a questionnaire on conflict management among school administrators under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The results of the study found that 1) The conflict in educational institutions under Chiang Rai Primary Education Service Area Office 3, overall, was at a high level. When considering each aspect, it was found that all of them had opinions at a high level. Where the side with the highest mean is role conflicting aspects and the side of the conflict of goals, followed by the normative conflict and the side with the lowest mean was personality conflicts 2) Conflict management among school administrators under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3, the overall level was at a high level. When considered individually, it was found that the side that had a high level of opinion was overcoming. Cooperation compromise side of avoidance tolerance side and confrontation and the side with moderate opinions Including withdrawal and the use of power Where the side with the highest mean is the side of cooperation was followed by the side with compromise and the side with the lowest mean was power. | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความขัดแย้งในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และเพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 438 คน แยกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 103 คน และครูในสถานศึกษา จำนวน 335 คน ด้วยวิธีการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจรายการ (Check List) ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความขัดแย้งในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า T-test สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความขัดแย้งในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความขัดแย้งของบทบาท และด้านความขัดแย้งของเป้าหมาย รองลงมา คือ ด้านความขัดแย้งของปกติวิสัย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความขัดแย้งของบุคลิกภาพ 2) การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเอาชนะ ด้านการร่วมมือ ด้านการประนีประนอม ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านการยอมให้ และด้านการเผชิญหน้า และด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการถอนตัว และด้านการใช้อำนาจ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการร่วมมือ รองลงมา คือ ด้านการประนีประนอม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการใช้อำนาจ | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/612 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | ความขัดแย้งในสถานศึกษา | |
dc.subject | การจัดการความขัดแย้ง | |
dc.subject | การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา | |
dc.subject | School conflict | |
dc.subject | Conflict management | |
dc.subject | Conflict management among school administrators | |
dc.title | การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3 | |
dc.title.alternative | Conflict Management of School Administrators under The Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area | |
dc.type | Thesis |