การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3

Loading...
Thumbnail Image
Date
2018
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขนาดเล็ก และสถานศึกษาขนาดกลางในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง จังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 โดย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง จำนวน 113 คน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 57 คน และโรงเรียนขนาดกลางจำนวน 56 คนโดยใช้วิธีสุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (T-test Independent) ผลการวิจัยพบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง จังหวัดเชียงราย โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ การไว้วางใจ ความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน และความยึดมั่น ผูกพัน ตามลำดับ การเปรียบเทียบระดับการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขนาดเล็ก และสถานศึกษาขนาดกลางในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง จังหวัดเชียงราย โดยรวมทุกด้านไม่มีความแตกต่างกัน
Description
The objectives for this research: 1) to study the participative management of school in Educational Development Network Group of Doy Luang, Chiang Rai 3 2) to compare the participative management educational administration in small size and middle size school of Educational Development Network Group of Doy Luang, Chiang Rai 3 3) to study the problem and solution in the participative management educational administration in Educational Development Network Group of Doy Luang, Chiang Rai under Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3. The sample groups for this research were school administrators and teachers in the network for 113 people by using Krejcie and Morgan model. The researcher divided into 57 people from small size school and 56 people from middle size school by using stratified random sampling technic. The research tools were the questionnaire with 1-5 Liker’s scale for collecting data and using computer program for analyzing data, finding mean with standard deviation and using t-test Independent for hypothesis testing. The result showed that overall and each part of the participative management administration of school in Educational Development Network Group of Doy Luang, ChiangRai were in high level by arrange in order from highest to lowest as follows: trust, freedom toward working responsibility, setting goal and objective together and affiliation. The comparison between the participative management educational administration in small size and middle size school of Educational Development Network Group of Doy Luang, Chiang Rai 3 had no differences.
Keywords
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, Participative management
Citation