จักรวาลวิทยาแบบกฎกำลังพื้นฐาน

Abstract
ในงานศึกษาอิสระนี้ได้ศึกษาแบบจำลองควินเทสเซนต์ (Quintessence) แบบจำลองกฎกำลัง (Power-law) และแบบจำลองควินเทศเซนต์แบบกฎกำลัง (Quintessence Power-law) โดยสมมติว่า เอกภพของเราประกอบไปด้วยสนามสเกลาร์ ϕ ที่เป็นตัวแทนของพลังงานมืด และเราได้มุ่งความสนใจไปที่แบบจำลองควินเทสเซนต์แบบกฎกำลัง โดยศึกษาถึง สมการสถานะของสนามสเกลาร์ (wϕ) พารามิเตอร์ความหน่วง (q) และค่าแอลฟา (a) ที่เป็นเลขชี้กำลังของกฎกำลัง จากการใช้ข้อมูลจากยานสำรวจอวกาศ MWAP9 ที่รวมผลจากข้อมูลอื่น ๆ คือ WMAP9+eCMB +BAO +H0 และข้อมูลจากยานสำรวจอวกาศ PLANCK ที่รวมกับผลของ TT; TE;EE + LowP + Lensing + ext และพบว่า ผลที่ได้จากการคำนวณจากแบบจำลองควินเทสเซนต์แบบกฎกำลัง คือ ค่าสมการสถานะของสนามสเกลาร์ (wϕ;0) มี ค่า -0:316 ± 0:104 WMAP9 + eCMB + BAO + H0 และ -0:302 ± 0:005 PLANCK : TT; TE;EE + LowP + Lensing + ext ซึ่งต่างจากค่าที่ได้จากการสำรวจค่อนข้างมาก คือ wϕ;0;obs = -1:037+0:071 -0:070 (WMAP9 + eCMB + BAO + H0) ที่ระดับความน่าเชื่อถือที่ 68 เปอร์เซนต์ และ wϕ;0;obs = -1:019+0:075-0:080 PLANCK : TT; TE;EE+LowP +Lensing+ext ที่ระดับความน่าเชื่อถือที่ 68 เปอร์เซนต์ นั่นคือ ค่าสมการสถานะของสนามสเกลาร์ที่คำนวนได้ไม่สามารถนำมาอธิบายการขยายตัวแบบเร่งออกของเอกภพได้ นอกจากนี้ เรายังพบว่า ค่าพารามิเตอร์ความหน่วงที่กำหนดได้มีค่ามากกว่าศูนย์ แต่ทางทฤษฎีต้องน้อยกว่าศูนย์ และค่าแอลฟา (a) ที่คำนวณได้มีค่าน้อยกว่าหนึ่ง ซึ่ง a ต้องมากกว่าหนึ่ง (a > 1) จึงจะสอดคล้องกับเอกภพที่มีการขยายตัวแบบเร่งออก ดังนั้น จากค่า พารามิเตอร์ที่คำนวนได้ทั้งสามค่า จากแบบจำลองควินเทสเซนต์แบบกฎกำลัง เราสามารถสรุปได้ว่า แบบจำลองควินเทสเซนต์แบบกฎกำลัง ไม่สามารถนำมาใช้อธิบายถึง การขยายตัวแบบเร่งออกของเอกภพได้ และสำหรับแบบจำลองควินเทสเซนต์แบบกฎกำลัง เราพบว่า ฟังก์ชันศักย์ แปรผันกับ e-ϕ คือ V(ϕ) /e-ϕ
Description
Keywords
จักรวาลวิทยา, เอกภพขยายตัวเร่งออก, ควินเทสเซนต์, กฎกำลัง
Citation
กุลชดาภา ตนะทิพย์. (2560). จักรวาลวิทยาแบบกฎกำลังพื้นฐาน. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.