การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา
dc.contributor.author | วิชัย มันจันดา | |
dc.date.accessioned | 2023-12-04T07:02:38Z | |
dc.date.available | 2023-12-04T07:02:38Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.description | The purposes of this study were 1) to study the dual vocational training program management for the colleges in Phayao of vocational education commission 2) to investigate problems and find the solutions for the dual vocational training program management. The sample group was 168 people who participate in this study. The instruments was questionnaire. Data analyses were percentage, mean, and standard deviation. The results reveal that 1) The overall of the dual vocational training program management for the colleges in Phayao of vocational education commission consist of 4 aspects: quality of graduate student, curriculum, cooperation between school and workplace, measurement and evaluation was at a high level. 2) The overall of problems and solutions for the dual vocational training program management toward 4 aspects was at a medium level. 3) The suggestions for problems are as followed. 1) Graduate students only specialize in their own skill areas. They are insufficiency in other skill areas and lack of participation in other development activities. 2) For the curriculum, the teaching which was organized by the workplace is not consistent with vocational training program. 3)The problem of cooperation between schools and workplaces, some workplaces don’t fully understand the dual vocational training program. 4) For measurement and evaluation, the teachers cannot supervise the students 3 times within a semester, and the evaluation was not employed to develop the students’ competence. 4. The suggestions for solving the problems are as followed. 1) Graduate students should evaluate yourselves after finishing vocational training, and the school should train students to fulfill their insufficiency skills. Students should participate workplaces’ activities, and the workplaces should be required to evaluate the school. 2) There should be preparation course before vocational training, and the teacher should supervise trainees. 3) School should hold a meeting with the workplaces so that schools can organize teaching and learning to meet the workplaces ‘need. 4) There should be online measurement and evaluation of supervision, and there should hold the meeting to evaluate trainees after finishing vocational training | |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งหมด 238 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ด้านหลักสูตร ด้านความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” 2) ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ด้านหลักสูตร ด้านความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “ปานกลาง” 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี ดังนี้ 1) ด้านผู้สำเร็จการศึกษาผู้เรียนมีทักษะเฉพาะด้าน ในด้านที่ตัวเองฝึกปฏิบัติอาชีพในสถานประกอบการทำให้ขาดทักษะในด้านอื่น ๆ และผู้เรียนขาดการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาในด้านอื่น ๆ กับทางสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตรการสอนในสถานประกอบการไม่สอดคล้องกับแผนฝึกอาชีพ 3) ด้านความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา และสถานประกอบการสถานประกอบการบางแห่งยังไม่มีความเข้าใจ เรื่องการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี 4) ด้านการวัดผลและประเมินผล ครูผู้สอนไม่สามารถไปนิเทศตามเกณฑ์ 3 ครั้งในหนึ่งภาคเรียนได้ และไม่มีการนำผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียน 4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหา การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ดังนี้ 1) ด้านผู้สำเร็จ การศึกษาหลังจากฝึกอาชีพเสร็จควรมีการประเมินความรู้ และจัดอบรมในส่วนที่ผู้เรียนขาดหาย และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกับสถานประกอบการ และให้สถานประกอบการประเมินให้สถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตรก่อนฝึกอาชีพ ควรมีการจัดทำแผนร่วมก่อนฝึกอาชีพ และครูนิเทศติดตามผลตามแผนการฝึกอาชีพ 3) ด้านความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา และสถานประกอบการจัดประชุมแนวทางการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีก่อนส่งผู้เรียนออกฝึก อาชีพที่สถานประกอบการ 4) ด้านการวัดผลและประเมินผลนิเทศทางสื่อสังคมออนไลน์ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ร่วมสถานประกอบการ และหลังจากมีการฝึกอาชีพเสร็จสิ้นแล้ว ควรจัดประชุมเพื่อวิเคราะห์การประเมินผู้เรียน | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/145 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี | |
dc.subject | Dual Vocational Training Program | |
dc.title | การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา | |
dc.title.alternative | The Dual Vocational Training Program Management for the College in Phayao of Vocational Education Commission | |
dc.type | Thesis |