สภาพการเลี้ยงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และคุณภาพซากของการผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพในจังหวัดพะเยาและแพร่

No Thumbnail Available
Date
2019
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยง การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และคุณภาพซากของการผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพในจังหวัดพะเยาและแพร่ การศึกษาที่ 1 ทำการศึกษาข้อมูลสภาพการเลี้ยงโคขุนคุณภาพดี จากฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้จังหวัดพะเยา จำนวน 34 ราย และสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อคุณภาพดีจังหวัดแพร่ จำนวน 30 ราย พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 51-60 ปี โดยพันธุ์โคขุนที่นำมาเลี้ยง คือ โคลูกผสมชาร์โรเลส์ และโคลูกผสมแองกัส และใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงเฉลี่ย 12 เดือน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า จุดแข็ง คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนมีการรวมกลุ่มกัน จุดอ่อน คือ เกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุมากอาจมีข้อจำกัดในเรื่องการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ โอกาส คือ เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ฯ ทำให้ได้รับการสนับสนุนการจัดหาแหล่งเงินทุน และการบริการวิชาการจากภาครัฐ อุปสรรค คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนเป็นรายใหม่ยังขาดประสบการณ์ด้านการปรับปรุงพันธุ์ การจัดการฟาร์ม และการตลาดการศึกษาที่ 2 ข้อมูลการชำแหละและการตัดแต่งซากได้จากสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้จังหวัดพะเยา และสหกรณ์โคเนื้อคุณภาพดีจังหวัดแพร่ จำนวน 185 ตัว และโคขุนลูกผสมแองกัส จำนวน 72 ตัว ผลการศึกษาด้านสมรรถภาพการผลิต พบว่า โคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์และแองกัสมีน้ำหนักมีชีวิตสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 700.66±94.99 และ 596.33±95.93 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 0.60±0.29 และ 0.60±0.27 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามโคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์จะมีน้ำหนักมีชีวิตสุดท้ายสูงกว่า แต่อัตราการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน สำหรับคุณภาพซากมีน้ำหนักซากอุ่นเฉลี่ย 383.79±57.93 และ 335.86±56.50 กิโลกรัม และคะแนนไขมันแทรก เฉลี่ย 3.21±0.39 และ 2.00±1.09 คะแนน สรุปได้ว่าโคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์มีรายได้จากการขายซากโคมากกว่าการศึกษาที่ 3 การศึกษาคุณภาพเนื้อโคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์ โดยสุ่มเก็บจากกลุ่มสมาชิกสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้จังหวัดพะเยา และโคขุนลูกผสมแองกัสจากกลุ่มสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อคุณภาพดีจังหวัดแพร่ โดยทำการสุ่มกลุ่มละ 4 ตัว ผลการศึกษาพบว่า โคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์มีค่าแรงตัดผ่านของเนื้อเฉลี่ย 74.97±12.43 นิวตัน สูงกว่าโคขุนลูกผสมแองกัส 47.86±6.41 นิวตัน (P<0.05) โคขุนลูกผสมแองกัสและโคขุนลูกผสมชาร์โรเลส์มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนเฉลี่ย 24.30±1.12 และ 22.06±2.24 ตามลำดับ สรุปได้ว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนในพื้นที่จังหวัดพะเยาและแพร่สามารถใช้เป็นข้อมูล สำหรับการตัดสินใจในการเลือกพันธุ์โคเนื้อลูกผสมที่จะนำมาเลี้ยงขุนให้เหมาะสมกับพื้นที่ในจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ได้
Description
This research was aimed to study the raising condition, SWOT analysis and carcass quality of premium grade beef production in Phayao and Phrae Province. Study 1: basic information of the farmers were calleted from 34 farmers who are the participating member of the Dok Kham Tai beef cooperative in Phayao Province and 30 farmers who are the participation member beef cattle of the good quality cooperative in Phrae Province. It was found that farmers were male, average age about 51-60 years old. Farmers used the Charolais and Angus crossbred for the fattening period of about 12 months. SWOT Analysis, the strength is farmers are members of the farmer are getting groups. The Weaknesses is that most farmers older, they have a limited capability for learning new technology. The opportunity is that farmers perform as a group of cooperatives. Therefore, they can easily get support on funding and academic services from the government sector. The threats are farmers as new farmers still lack experiences in breeding, farm management and marketing. Study 2: data of beef cattle carcass from the Dok Kham Tai beef cooperative in Phayao Province from 185 Charolais crossbred and 72 Angus crossbred were collected. The production performance and carcass quality analysis by using mean standard deviation and correlation were analyzed by using program R. Production performance of Charolais and Angus crossbred, average final weight was 700.66±94.99 and 596.33±95.93 kg, average daily gain (ADG) was 0.60±0.29 and 0.60±0.27 kg/day. Although, the final weight of Charolais crossbred was higher (p<0.5), but the daily weight gain was not a significant difference (p>0.05). For carcass quality, hot carcass weights were 383.79±57.93 and 335.86±56.50 kg and marbling score average were 3.21±0.39 and 2.00±1.09. The income from selling Charolais crossbred carcass was higher than from Angus crossbred (p<0.05). Study 3: Study on the meat quality Charolais crossbred was selected from the Dok Kham Tai beef cooperative in Phayao Province, and Angus crossbred from the beef cattle of good quality cooperative in Phrae Province by randomly selected of 4 slaughtered animals in each group, that Charolais crossbred of an average shear force value was 74.97±12.43 N which was higher than Angus crossbred 47.86±6.41 N (P<0.05). The protein content of Angus crossbred and Charolais crossbred meat was 24.30±1.12 and 22.06±2.24. In conclusion, this information would be beneficial for the decision for selecting a breed for fattening steer to produce prime meat quality in Phayao and Phrae Province.
Keywords
สภาพการเลี้ยง, การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม, คุณภาพซาก, การผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพ, Raising condition, SWOT analysis, Carcass quality, Premium grade production
Citation
กมลทิพย์ สอนศิริ. (2563). สภาพการเลี้ยงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และคุณภาพซากของการผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพในจังหวัดพะเยาและแพร่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).