ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในกรณีการล่อลวงเพื่อละเมิดทางเพศออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชน
dc.contributor.author | วิภาวรรณ แก้วมณีพร | |
dc.date.accessioned | 2024-07-30T03:56:58Z | |
dc.date.available | 2024-07-30T03:56:58Z | |
dc.date.issued | 2019 | |
dc.description | The problem of online grooming on juveniles is that Thailand does not have laws or measures to protect and prevent the offense being committed. Under the current Criminal Code, there are only the offenses of indecent behavior and rape which do not cover online action. In addition, the criminal law does not focus on prevention and intervention to prevent the offense being committed, but focuses only on punishing the offender once the offense has been committed. Moreover, the Child Protection Act B.E. 2546 (2003) itself has light penalties for pedophiles. Therefore, it needs to be changed to give a tougher sentence. Further, while the Computer Crime Act B.E. 2560 (2017) has related provisions namely Section 14 (4) which states that computer data that has obscene characteristics must be readily available to the general public. However, a pedophile uses his own computer data and does not open for public access. As a result, online grooming towards juveniles whether by video call or webcam is not an offense under Section 14 (4) of the Computer Crime Act B.E. 2560 (2017). Therefore, it is necessary to establish new legislation and ratify new laws in the offense of "Online Grooming" including, punitive measures and increased penalties. The author has proposed amendments to the Criminal Code, namely, but not limited to, the definition of the word "Online Grooming" be expanded as appropriate, thereby, help towards solving the problem of online grooming towards juveniles | |
dc.description.abstract | ปัญหาในกรณีการล่อลวงเพื่อละเมิดทางเพศออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชน เป็นปัญหาที่ในปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมาย หรือมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด โดยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญานั้น มีแต่เพียงความผิดฐานกระทำอนาจารและความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราซึ่งองค์ประกอบความผิดในฐานดังกล่าวนั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงลักษณะการกระทำออนไลน์ไว้ นอกจากนี้ กฎหมายอาญาไม่ได้มุ่งเน้นที่จะป้องกันและแทรกแซง เพื่อไม่ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่มุ่งเน้นลงโทษผู้กระทำความผิดเมื่อมีการกระทำความผิดขึ้นแล้วเท่านั้น อีกทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีบทลงโทษผู้ที่ล่อลวงเด็กและเยาวชนที่ค่อนข้างเบา ซึ่งไม่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำอีก จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด นอกจากนี้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ซึ่งบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา 14 (4) นอกจากข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะอันลามก และจะต้องป็นข้อมูลที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้อีกด้วย ในกรณีที่เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ของตน โดยเฉพาะที่ไม่ได้ประสงค์จะให้ผู้ใดเข้าถึงก็ย่อมไม่เป็นความผิด การล่อลวงเพื่อละเมิดทางเพศออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชน ผ่านทางวีดีโอคอลหรือผ่านทางเว็บแคม แต่รู้กันเพียงแค่ผู้กระทำความผิดกับเหยื่อเท่านั้น บุคคลภายนอกไม่อาจรับได้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 144) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 จึงไม่ครอบคลุมและไม่ได้คุ้มครอง ในกรณีการล่อลวงเพื่อละเมิดทางเพศออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชนเป็นการเฉพาะ เห็นได้ว่ากฎหมายใช้บังคับอยู่ไม่ครอบคลุม จึงทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย ส่งผลให้ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องบัญญัติฐานความผิดขึ้นใหม่ โดยเพิ่มเติมคำนิยามของ "การล่อลวงทางเพศออนไลน์" รวมไปถึงมาตรการลงโทษและเพิ่มโทษให้หนักขึ้น โดยผู้เขียนมีข้อเสนอให้บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายอาญา และระบุคำจำกัดความของคำว่า "การล่อลวงทางเพศออนไลน์" ซึ่งเป็นการเหมาะสมและช่วยแก้ไขปัญหาการล่อลวง เพื่อละเมิดทางเพศออนไลต่อเด็กและเยาวชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.identifier.uri | https://updc.up.ac.th/handle/123456789/681 | |
dc.language.iso | other | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | |
dc.subject | เด็กและเยาวชน | |
dc.subject | ผู้ล่อลวงทางเพศเด็กและเยาวชน | |
dc.subject | การล่อลวงเพื่อละเมิดทางเพศออนไลน์ | |
dc.subject | การกระทำต่อเนื้อตัวร่างกาย | |
dc.subject | เจตนา | |
dc.subject | กฎหมาย | |
dc.subject | Juvenile | |
dc.subject | Pedophile | |
dc.subject | Online grooming | |
dc.subject | Physical act | |
dc.subject | Intention | |
dc.subject | Laws | |
dc.title | ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในกรณีการล่อลวงเพื่อละเมิดทางเพศออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชน | |
dc.title.alternative | Problems and Legal Measures in Case of Online Grooming on Juvenile | |
dc.type | Thesis |